ฟิลเลอร์

ฟิลเลอร์

Filler ฟิลเลอร์

ฟิลเลอร์คือสารเติมเต็มชนิดไฮยาลูโรนิกแอสิด (Hyaluronic Acid) ซึ่งมีคุณสมบัติในการเติมเต็มริ้วรอยร่องลึกให้ดูตื้นขึ้น เพื่อช่วยลด หรือแก้ไขปัญหาของผิวหนัง เช่น ริ้วรอยแห่งวัย รอยย่น ร่องลึกบริเวณร่องแก้ม ปรับรูปหน้า เสริมโหนกแก้มและคาง

ข้อดีของการทำ Filler

  • เติมริ้วรอยร่องแก้ม
  • เสริมโหนกแก้มและคาง
  • เติมริมฝีปากให้อวบอิ่ม
  • ปรับเปลี่ยนโครงสร้างของใบหน้าโดยไม่ต้องผ่าตัด

ขั้นตอนในการรักษา

  • แพทย์จะวิเคราะห์โครงสร้างของผิวและปัญหาที่คนไข้ต้องการแก้ไข เพื่อประเมินปริมาณยาที่ใช้ในการรักษา
  • ทำความสะอาดบริเวณผิวที่ต้องการรักษา และทายาชาประมาณ 30–40 นาที
  • ทำการรักษา

ผลการรักษา

  • ผลการรักษาจะคงอยู่ได้ 6 เดือน – 1 ปีครึ่ง ทั้งนี้ในกลุ่มของสารไฮยาลูโรนิกแอสิดจะมีหลายแบบขึ้นอยู่กับความเข้มข้น, ขนาดโมเลกุล, ปริมาณของ cross-linking, สารที่ใช้เพื่อทำให้เกิด cross-linking และระดับความยืดหยุ่นของสาร โดยทั่วไปถ้ามีปริมาณของ cross-linkingมากจะทำให้สารมีความคงตัวมากและสามารถคงตัว อยู่ได้นานกว่าหลังจากฉีด ในขณะที่สารที่มีโลเลกุลเล็กจะคงอยู่ในร่างกายได้สั้นกว่า ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการดูแลของผู้รับการรักษาด้วย

ผลข้างเคียง

  • อาจเกิดผื่นแดง หรือรอยช้ำจางๆบริเวณที่ฉีด filler ซึ่งอาการเหล่านี้จะหายไปได้เอง ใน 1 – 7 วัน

โบท็อกซ์

โบทูลินั่ม ท็อกซิน

Botolinum Toxin โบทูลินั่ม ท็อกซิน การยิ้ม หัวเราะ ขมวดคิ้ว การแสดงออกทางสีหน้า หรือแม้แต่การสูบบุหรี่ สามารถทำให้ผิว บริเวณรอบดวงตา หว่างคิ้ว ปาก และหน้าผากเกิดเป็นริ้วรอย และค่อยๆ ลึกมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ใบหน้าแลดูสูงวัย และเหนื่อยล้าไม่สดใส ปัจจุบันได้มีการพัฒนาสารคลายกล้ามเนื้อลดเลือนริ้วรอยดังกล่าว

ประโยชน์ของการฉีด Botulinum Toxin

  • ช่วยให้กล้ามเนื้อคลายตัว ลดเลือนริ้วรอย
  • ทำให้ผิวหน้าแลดูอ่อนวัยขึ้น
  • ยกกระชับ
  • ลดขนาดกล้ามเนื้อกราม ปรับรูปหน้า V-shape
  • ลดเหงื่อที่ออกมามากเกินไป ในบริเวณรักแร้ ฝ่ามือ และฝ่าเท้า

ฉีดแต่ละครั้ง อยู่ได้นานแค่ไหน

ผลการรักษาอยู่ได้ประมาณ 4-6 เดือน ในครั้งต่อๆ ไป ผลอาจคงอยู่ได้ถึง 6-8 เดือน หรือนานกว่า ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการดูแลตัวเองของผู้รับการรักษาด้วย

การเตรียมตัวก่อนฉีดโบท็อกซ์

งดรับประทานยาลดการอักเสบ หรือ aspirin ก่อนฉีด 1 สัปดาห์ และงดรับประทานวิตามินอี น้ำมันตับปลา primrose แปะก๊วย โสม อย่างน้อย 2-3 วัน เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงการช้ำบริเวณที่ฉีด และงดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 24 ชั่วโมง

ข้อแนะนำหลังจากการฉีด

  • หลีกเลี่ยงการนอนราบเป็นเวลา 4 ชั่วโมง เนื่องจากตัวยาอาจกระจายออกนอกตำแหน่งที่ฉีด ทำให้ไม่ได้ประสิทธิภาพที่ต้องการ
  • ห้ามกดหรือนวดบริเวณที่รับการฉีดโบท็อกซ์ 1 สัปดาห์ เนื่องจากจะทำให้ยากระจายตัว
  • หากมีรอยช้ำหลังฉีด แนะนำให้ประคบเย็นต่อด้วยตนเอง
  • ขยับกล้ามเนื้อบริเวณที่ฉีด ทุก 15 นาที ในชั่วโมงแรกหลังฉีด เพื่อให้ยาออกฤทธิ์ดีขึ้น
  • งดนวดหน้า ประมาณ 1 สัปดาห์
  • งดทำทรีตเมนท์หน้าด้วยการใช้เครื่อง RF หรือเลเซอร์ อย่างน้อย 1 สัปดาห์
  • งด Aspirin วิตามินอี ใบแปะก๊วย น้ำมันปลา โสม อย่างน้อย 2-3 วัน

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงซึ่งอาจพบได้น้อยรายมากในการฉีดโบท็อกซ์ ได้แก่ มีรอยแดง คัน หรือมีรอยเขียวช้ำบริเวณที่ฉีด ปวดศีรษะ ปวดคอ คลื่นไส้ วิงเวียนศีรษะ โดยที่อาการเหล่านี้จะค่อยๆ หายไปเอง

ผู้ที่ไม่สามารถรับการฉีดโบท็อกซ์

  • ผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อ เช่น ผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรงบริเวณใบหน้า
  • ผู้ที่แพ้ Albumin
  • ผู้ที่แพ้ Botulinum Toxin
  • หญิงตั้งครรภ์ให้นมบุตร
  • ผู้ป่วยที่มีประวัติภูมิแพ้รุนแรง
  • ผู้ป่วยที่มีโรคเลือดออกง่ายและไหลหยุดยาก
  • ผู้ป่วยที่รับประทานยาที่มีผลต่อเลือด

ริ้วรอยร่องลึก

ริ้วรอยร่องลึก

ริ้วรอยร่องลึก หรือรอยย่นแบบลึก เกิดจากการทำงานของกล้ามเนื้อของใบหน้า เห็นร่องลึกชัดเมื่ออายุ 40 ปีขึ้นไป สามารถเกิดขึ้นได้หลายบริเวณบนใบหน้า เช่น

  1. รอยย่นบริเวณหน้าผาก เป็นร่องขวางยาวตลอดหน้าผากขนานกัน
  2. รอยย่นที่หางตา
  3. รอยย่นลึกที่คิ้ว ตั้งฉากหระหว่างคิ้ว 2 ข้าง
  4. รอยย่นขวางที่สันจมูก และรอยย่นรอบปาก
  5. รอยร่องลึกบริเวณขอบแก้ม

วิธีการรักษา

  1. ฉีดโบท็อก หรือการใช้สารโบทูลินั่มท๊อกซิน (Botulinum Toxin) จะช่วยให้กล้ามเนื้อบริเวณที่ฉีดคลายตัว เพื่อแก้ไขปัญหารอยย่นบนใบหน้าให้กระชับขึ้น การเตรียมตัวก่อนฉีดโบท็อก งดรับประทานยาแอสไพริน สารสกัดจากใบแปะก้วย ยาอิริโทรไมซิน (Erythromycin) ประมาณ 1 สัปดาห์ ก่อนฉีด
  2. ฉีดเมโส หรือเมโสเทอราปี (Mesotherapy) เป็นการฉีดสารต่างๆ เข้าสู่ผิว เช่น วิตามิน กรดอะมิโน หรือสารสกัดต่างๆ เพื่อกระตุ้นระบบการทำงานภายในร่างกาย เริ่มเห็นผลภายใน 1 สัปดาห์หลังฉีด เหมาะสำหรับผู้ไม่ชอบทาครีมบำรุงผิว
  3. ใช้เวชสำอางเสริมการกระชับผิวหน้า เช่น เวชสำอางที่มีส่วนผสมของสมุนไพร กลุ่มที่มีการออกฤทธิ์เหมือนฮอร์โมนเพศหญิง (Phytoestrogen) สารสกัดจากถั่วเหลือง สารสกัดจากสาหร่าย และเปปไทด์ต่างๆ

รอยย่นใต้ขอบตา

รอยย่นใต้ขอบตา

รอยย่นใต้ขอบตา เกิดจากผิวสูญเสียคอลลาเจนและอิลาสติน ทำให้ผิวบางลง ขาดความยืดหยุ่น โดยเฉพาะบริเวณหางตา เปลือกตา ที่จะมีรอยตีนกา รอยย่น รวมถึงการแสดงออกทางสีหน้า เช่น ยิ้ม หัวเราะ ย่นจมูก ท่าทางต่างๆ จะกระตุ้นให้กล้ามเนื้อบริเวณนั้นทำงานหนักขึ้น ทำให้เกิดริ้วรอยได้

การลดรอยย่นใต้ขอบตา

  1. ผลิตภัณฑ์ลดรอยย่นใต้ขอบตา มีส่วนผสมของ อารจิเรลีน (Argireline) กรดไฮยาลูรอนิก (Hyaluronic acid) หรือโซเดียม พีซีเอ (Sodium PCA) เป็นต้น
  2. ฉีดใยคอลลาเจนเสริมบริเวณหางตา

การฉีดคอลลาเจน

คอลลาเจนชนิดฉีดมีหลายรูปแบบ

  1. คอลลาเจนชนิดไม่ถาวร ชนิดความเข้มข้นธรรมดา ได้จากการสกัดจากเนื้อวัว ใช้สำหรับปัญหารอยย่นระดับตื้น และปัญหารอยแผลจากสิวทั่วไป ส่วนชนิดความเข้มข้นสูง ใช้สำหรับปัญหารอยย่นระดับลึก โดยคอลลาเจนชนิดนี้สามารถคงอยู่ในร่างกายได้เพียง 2 – 3 ปี เพราะร่างกายของเราสามารถทำลายได้เอง
  2. คอลลาเจนชนิดถาวร สกัดจากสัตว์เช่นเดียวกัน แต่อยู่ได้นานหลายปี และต้องทำการทดสอบว่าเกิดการแพ้เส้นใยคอลลาเจนหรือไม่ ก่อนทำการฉีด
  3. คอลลาเจนของตัวเอง โดยให้แพทย์ตัดผิวหนังของตัวเองนำไปสกัดให้อยู่ในรูปแบบคอลลาเจนเหลวสำหรับฉีดเข้าผิว ข้อดีคือไม่ต้องทดสอบการแพ้ เพราะเป็นคอลลาเจนจากตัวเอง

กระ (Freckles)

กระ (Freckles)

กระ ปัญหาสีผิวไม่สม่ำเสมอส่งผลต่อความมั่นใจที่มักพบในกลุ่มคนที่มีผิวขาว โดยมีชนิด ลักษณะ และสาเหตุที่แตกต่างกัน โดยแบ่งออกเป็น 4 ชนิด ดังนี้

  1. กระตื้น มีลักษณะเป็นจุดสีน้ำตาลขนาดเล็ก มีสาเหตุมาจากเซลล์เม็ดสีผิวมีความไวต่อแสงแดดมากกว่าปกติ เมื่อเผชิญแสงแดดจึงเกิดเป็นกระตื้นมักพบบริเวณ โหนกแก้ม จมูก หรือ อาจกระจายทั่วใบหน้า ลำคอ แขนและหน้าอก
  2. กระลึก มีลักษณะเป็นจุดเล็ก หรือเป็นแผ่นสีน้ำตาล เทา ขอบไม่ชัดเจน คล้ายฝ้า มักพบบริเวณโหนกแก้ม หรือสันจมูก มีสาเหตุมาจากความผิกปกติของเซลล์เม็ดสีผิวบริเวณหนังแท้ ซึ่งถูกกระตุ้นโดยแสงแดด หรือฮอร์โมนที่เพิ่มขึ้น เช่น ช่วงตั้งครรภ์
  3. กระแดด มีลักษณะเป็นจุด หรือปื้นสีน้ำตาล หรือสีดำ ขอบเขตชัดเจน มักพบบริเวณใบหน้า แขน และขา สาเหตุเกิดจากการเผชิญแสงแดดจัดเป็นเวลานาน เช่น จากการเล่นกีฬากลางแจ้ง
  4. กระเนื้อ มีลักษณะเป็นตุ่มเล็กๆ สีน้ำตาลอ่อน หรือสีน้ำตาลเข้ม มักพบบริเวณใบหน้า ลำคอ หน้าอก และหลัง โดยอาจเกิดขึ้นเป็นตุ่มขนาดเล็กและสามารถขยายใหญ่ และนูนชึ้น โดยมีสาเหตุจากเกิดเจริญที่ผิดปกติของหนังกำพร้า ร่วมกับการกระตุ้นจากแสงแดดและอายุที่เพิ่มมากขึ้น

การรักษา

  1. จี้กระด้วยกรด TCA (Trichloroacetic Acid ) เพื่อกระตุ้นให้เกิดการผลัดเซลล์ผิวที่เร็วมากขึ้น กระจึงจางลง ช่วยให้สีผิวแลดูสม่ำเสมอ
  2. รักษาด้วย ND YAG Laser โดยเลเซอร์จะทำให้เม็ดสีผิวเกิดการแตกตัว และจะถูกร่างกายขับออก กระจึงค่อยๆจางลง

การป้องกันและดูแลผิวหลังการรักษา

  1. หลีกเลี่ยงการเผชิญแสงแดงหลังจากการทำการรักษา ประมาณ 1-2 อาทิตย์
  2. ทาผลิตภัณฑ์ป้องกันแสงแดดเป็นประจำทุกครั้งก่อนเผชิญแสงแดด หากเผชิญแสงแดด เป็นเวลานานควรทาซ้ำเพื่อประสิทธิภาพการป้องกันแสงแดด

ผื่นแพ้สัมผัส

ผื่นแพ้สัมผัส

ผื่นแพ้สัมผัส คือ อาการผื่นคันที่เกิดจากการสัมผัสสิ่งกระตุ้นจากภายนอกร่างกายส่งผลให้เกิดการแพ้ หรือระคายเคืองของผิวหนัง ทำให้เกิดการอักเสบของผิวหนัง ซึ่งสาเหตุที่พบได้บ่อยของผื่นแพ้สัมผัส ได้แก่ กรด ด่าง สบู่ ผงซักฟอก โลหะ เครื่องสำอาง น้ำยาล้างเล็บ ยาง ลาเท็กซ์ ยางไม้ สารเคมีต่างๆ หรือยาบางประเภทเป็นต้น

อาการ

อาการของผื่นแพ้สัมผัสนั้นแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล โดยผื่นที่เกิดขึ้นนั้นโดยปกติจะเกิดขึ้น เฉพาะบริเวณที่สัมผัสกับสารระคายเคือง ซึ่งอาการที่เกิดขึ้นได้คือคัน บวม แดง ตุ่มพุพอง หรือ เป็นรอยแดงบริเวณของสิ่งที่แพ้ เช่น รอยสายนาฬิกา สร้อยคอ ขอบกางเกง เป็นต้น

การป้องกันและรักษา

สังเกตสิ่งแพ้และหลีกเลี่ยงสิ่งที่ก่อให้เกิดการระคายเคือง บางกรณีอาจจำเป็นต้องทดสอบผิวหนังด้วย Patch Test เพื่อหาสาเหตุ

การใช้ยากลุ่มสเตียรอยด์ อาจอยู่ในรูปของครีมเหลว น้ำใส หรือขี้ผึ้ง หากเกิดเป็นแผลควรทำ ความสะอาดโดยใช้ผลิตภัณฑ์ที่อ่อนโยน และทาครีมหรือโลชั่นที่เหมาะสำหรับผิวแพ้ง่ายเพื่อให้ ผิวชุ่มชื่น ไม่แห้งคันหากมีอาการคันร่วม สามารถรับประทานยาแก้แพ้ ทั้งนี้การใช้ยากลุ่มสเตียรอยด์หรือยารับประทานแก้แพ้ ควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนัง

Rosacea

Rosacea (โรซาเชีย)

Rosacea (โรซาเชีย) เป็นโรคผิวหนังอักเสบชนิดหนึ่งที่ทำให้เกิดรอยแดง ผื่นแดง ตุ่มแดงหรือ อาจเกิดตุ่มหนองบริเวณใบหน้า จมูก พบได้ไม่บ่อยและในบางครั้งอาจมีลักษณะคล้ายสิว มักเกิดในผู้หญิงวัยกลางคนที่มีผิวขาว

สาเหตุ

ยังไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน อาจเกิดจากปัจจัยทั้งทางพันธุกรรมและปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งปัจจัย ที่จะกระตุ้นทำให้อาการของโรคเป็นมากขึ้นได้ ได้แก่

  1. การออกกำลังกายที่หักโหม
  2. ความเครียด
  3. อุณหภูมิที่ร้อนจัดหรือเย็นจัด แ
  4. สงแดดและลม
  5. ดื่มน้ำในอุณหภูมิที่ร้อนจัด ดื่มแอลกอฮอลล์ หรือรับประทานอาหารรสเผ็ด
  6. การรับประทานยาที่ขยายหลอดเลือด บางครั้งรวมถึงการใช้ยาลดความดันโลหิตบางชนิด

อาการ

เกิดรอยแดงหรือผื่นแดงบริเวณใบหน้า โดยเฉพาะบริเวณแก้มและจมูก อาจเห็นเส้นเลือดได้ชัดเจน มีตุ่มแดงหรือตุ่มหนองคล้ายสิว อาจมีความรู้สึกร้อนหรือกดเจ็บที่บริเวณผื่นได้ นอกจากนี้อาจเกิด อาการตาแดง ตาแห้ง ระคายเคืองตา เปลือกตาบวม

บางกรณีอาจเกิด Rhinophyma หรืออาการจมูกสิงโต เป็นภาวะที่ผิวหนังเกิดเป็นปุ่มนูนบริเวณจมูก เนื่องจากการสร้างเนื้อเยื่อที่หนาขึ้น มักพบในผู้ชายที่มีอาการมาหลายๆ ปี

การรักษา

เนื่องจากโรค Rosacea ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ และเกิดอาการซ้ำได้บ่อยครั้ง ดังนั้น การรักษาจึงเป็นการเน้นควบคุมอาการ ซึ่งระยะเวลาและวิธีการรักษาขึ้นอยู่กับบุคคลและความรุนแรงของอาการ

เซ็บเดิร์ม

เซ็บเดิร์ม (Seborrheic Dermatitis)

เซ็บเดิร์ม หรือ Seborrheic Dermatitis เป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรัง ที่มีสาเหตุไม่แน่ชัด อาจเกิดจากต่อมไขมันในชั้นผิวหนังอักเสบ หรือเกิดจากเชื้อรา Pityrosporum Ovale ในผู้ใหญ่ หรือ เชื้อ Candida ในเด็ก ร่วมกับปัจจัยส่งเสริมอื่นๆ เช่น ความเครียด ฮอร์โมน อาหาร แอลกอฮอล์ อากาศ สภาพแวดล้อม หรือการบกพร่องของระบบภูมิคุ้มกัน

บริเวณที่พบบ่อยของผื่นเซ็บเดิร์ม

  • เด็ก มักเกิดผื่นบริเวณศีรษะหรือใบหน้า
  • ผู้ใหญ่ มักพบบริเวณหนังศีรษะ คิ้ว บริเวณข้างจมูก หลังหู และอาจพบบริเวณหน้าอกและ แผ่นหลังด้วย

ลักษณะอาการ

อาการของเซ็บเดิร์มมักพบผิวแห้งเป็นปื้นๆ มีขุยสีเหลือง ผิวบริเวณนั้นมันมาก หากเป็นบริเวณศีรษะจะมีลักษณะเหมือนรังแค เป็นขุยแห้งสีเหลือง อาจมีอาการคัน และผมร่วงร่วมด้วย

การรักษาโรคเซ็บเดิร์ม

เซ็บเดิมเป็นโรคเรื้อรัง รักษาไม่หายขาด แต่สามารถควบคุมอาการได้ สำหรับผู้ที่เป็นเซ็บเดิร์มบริเวณหนังศีรษะ แนะนำให้ใช้แชมพูที่มีส่วนผสมของ Coal tar หรือ Ketoconazole นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงความเครียดและควรพักผ่อนให้เพียงพอ หมั่นออกกำลังกายเพื่อให้ร่างกายแข็งแรงอยู่เสมอ

สิวที่หลัง

สิวที่หลัง

สิวที่หลังส่วนใหญ่มีสาเหตุจากเชื้อยีสต์ อาจเกิดจากเหงื่อไคลสะสมที่เกิดจากการออกกำลังกาย หรือผู้ที่มีเหงื่อออกมากในระหว่างวัน โดยเชื้อยีสต์จากหนังศีรษะไหลลงมาที่หลังและหน้าผาก

วิธีดูแลรักษาสิวที่หลัง

  1. ใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่มีผสมส่วนผสมของสารขจัดเชื้อยีสต์ โดยฟอกบริเวณแผ่นหลังขณะอาบน้ำวันละ 1-2 ครั้ง
  2. หลังอาบน้ำแนะนำให้ใช้ Clarifying Lotion No.4 เช็ดทำความสะอาดแผ่นหลังวันละ 2 ครั้ง เนื่องจาก Clarifying Lotion No.4 มีส่วนผสมของ Aluminium Chlorohydrate ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยลดเหงื่อกรณีเป็นคนเหงื่อออกมากหรือเล่นกีฬาเป็นประจำ ควรใช้สารระงับเหงื่อ เช่น Axill Antiperspirant Spray ฉีดหรือทาบริเวณแผ่นหลัง
  3. ใช้แป้งน้ำ หรือ Acne Lotion หรือ Antiseptic Dry Lotion เพื่อความคุมความมัน ลดการอุดตัน ของร่องขุมขนบริเวณแผ่นหลัง โดยทาทั้งเช้าและก่อนนอน
  4. กรณีอาการไม่ทุเลาภายใน 1 เดือน ต้องรับประทานยาฆ่าเชื้อยีสต์ ภายใต้การดูแลของแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญโรคผิวหนังโดยเฉพาะ ไม่ควรซื้อยารับประทานเอง

วิธีป้องกันสิวที่หลัง

  1. ใส่เสื้อผ้าหลวม ๆ หรือเสื้อผ้าที่สามารถระบายเหงื่อได้ดี ขณะออกกำลังกาย
  2. อาบน้ำและสระผมทันทีหลังออกกำลังกาย เพราะคราบเหงื่อไคลที่สะสมอยู่ในเสื้อ เป็นสาเหตุหนึ่ง ของการเกิดสิว

ผื่นแพ้สัมผัส

ผื่นแพ้สัมผัส

ผื่นแพ้สัมผัส คือ อาการผื่นคันที่เกิดจากการสัมผัสสิ่งกระตุ้นจากภายนอกร่างกายส่งผลให้เกิดการแพ้ หรือระคายเคืองของผิวหนัง ทำให้เกิดการอักเสบของผิวหนัง ซึ่งสาเหตุที่พบได้บ่อยของผื่นแพ้สัมผัส ได้แก่ กรด ด่าง สบู่ ผงซักฟอก โลหะ เครื่องสำอาง น้ำยาล้างเล็บ ยาง ลาเท็กซ์ ยางไม้ สารเคมีต่างๆ หรือยาบางประเภทเป็นต้น

อาการ

อาการของผื่นแพ้สัมผัสนั้นแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล โดยผื่นที่เกิดขึ้นนั้นโดยปกติจะเกิดขึ้น เฉพาะบริเวณที่สัมผัสกับสารระคายเคือง ซึ่งอาการที่เกิดขึ้นได้คือคัน บวม แดง ตุ่มพุพอง หรือ เป็นรอยแดงบริเวณของสิ่งที่แพ้ เช่น รอยสายนาฬิกา สร้อยคอ ขอบกางเกง เป็นต้น

การป้องกันและรักษา

สังเกตสิ่งแพ้และหลีกเลี่ยงสิ่งที่ก่อให้เกิดการระคายเคือง บางกรณีอาจจำเป็นต้องทดสอบผิวหนังด้วย Patch Test เพื่อหาสาเหตุ

การใช้ยากลุ่มสเตียรอยด์ อาจอยู่ในรูปของครีมเหลว น้ำใส หรือขี้ผึ้ง หากเกิดเป็นแผลควรทำ ความสะอาดโดยใช้ผลิตภัณฑ์ที่อ่อนโยน และทาครีมหรือโลชั่นที่เหมาะสำหรับผิวแพ้ง่ายเพื่อให้ ผิวชุ่มชื่น ไม่แห้งคันหากมีอาการคันร่วม สามารถรับประทานยาแก้แพ้ ทั้งนี้การใช้ยากลุ่มสเตียรอยด์หรือยารับประทานแก้แพ้ ควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนัง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล