ซาวน่า

ซาวน่า

ซาวน่า (Sauna)

ซาวน่า

การอาบซาวน่าแสงฟาร์อินฟราเรด (Far Infrared) เป็นนวัตกรรมใหม่ที่ช่วยเสริมสร้างสุขภาพร่างกายและผิวพรรณ พลังงานความร้อนจากคลื่นอินฟราเรดจะให้ความอบอุ่นต่อร่างกาย เหมือนกับพลังงานแสงอาทิตย์ แต่ไม่มีรังสียูวีจึงไม่มีผลข้างเคียงต่อร่างกาย

การทำงานของแสงอินฟราเรด

แสงอินฟราเรด จะไปกระตุ้นโมเลกุลน้ำให้เปลี่ยนเป็นไอออน ทำให้เลือดหมุนเวียนได้ดีขึ้น ส่งผลให้การทำงานของระบบต่างๆ ภายในร่างกายดีขึ้น

ประโยชน์ของการซาวน่า

    1. กระตุ้นการไหลเวียนเลือด
    2. เร่งการขับเหงื่อ ล้างสารพิษออกจากร่างกาย
    3. ชะลอวัย ช่วยให้ผิวพรรณผ่องใส สุขภาพดี
    4. กระตุ้นการเผาหลาญไขมันได้ดี ลดเซลล์ลูไลต์ และอาการบวมน้ำ
    5. ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ลดความตึงเครียด
    6. แสงอินฟราเรดทำให้ร่างกายอุ่นและมีความปลอดภัยสูง เหมาะกับทุกเพศ ทุกวัย ต่างจากการซาวน่าทั่วไปที่ใช้ความร้อนสูงมาก และส่งกับผลเสียต่อร่างกายได้

ข้อควรระวัง

    1. ห้ามทำระหว่างมีประจำเดือน เพราะอาจทำให้เกิดการตกเลือดเพิ่มมากขึ้น
    2. คนที่มีโรคความดันโลหิตสูง
    3. ผู้หญิงตั้งครรภ์ ควรปรึกษาแพทย์ก่อน

Hyperpigmentation

Hyperpigmentation

ฝ้า (Melasma) คือรอยดำเป็นแผ่น หรือปื้นตามใบหน้า มักจะเกิดบริเวณแก้ม จมูก หน้าผาก คาง บริเวณเหนือริมฝีปาก เกิดจากเซลล์ผลิตเม็ดสีผิวมากเกินไป (Hyperpigmentation) ทำให้ผิวบริเวณนั้นมีสีเข้มขึ้นบริเวณเล็กๆ จนกระทั่งลุกลามเป็นปื้นขนาดใหญ่ขึ้นส่วนใหญ่มักเกิดในผู้หญิงอายุ 25-55 ปี

สาเหตุที่ทำให้เกิด “ฝ้า” มีอะไรบ้าง

    1. การทานยาคุมกำเนิด เพราะจะทำให้ผิวหน้าไวต่อแสงแดดมากขึ้น การที่ผิวสัมผัสกับแดดโดยตรงและเป็นเวลานานๆ จะกระตุ้นให้เซลล์ผิวเม็ดสีผิว (melanin) เพิ่มมากขึ้น ทำให้สีผิวเข้มขึ้นได้
    2. สภาวะตั้งครรภ์ เป็นการสภาวะเปลี่ยนแปลงการหลั่งฮอร์โมนเพศหญิงจากรังไข่มากกว่าปกติ ความผิดปกตินี้จะทำให้เกิดฮอร์โมน MSH ไปกระตุ้นให้ผิวผลิตเม็ดสีผิวเพิ่มมากขึ้น ทำให้คนท้องเกิดฝ้าได้ง่าย
    3. การใช้เครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของน้ำหอม เพราะน้ำหอมที่อยู่ในเครื่องสำอางหรือสกินแคร์ที่ตกค้างบนผิวหนังชั้นล่าง มักทำปฏิกิริยากับแสงแดดและทำให้เม็ดสีผิวสะสมที่ผิวชั้นล่าง และเกิดฝ้าฝังลึกได้

วิธีการรักษาฝ้า

    1. รักษาด้วยการเปลี่ยนเซลล์ผิว เป็นการผลัดเปลี่ยนเซลล์ผิวหนังชั้นกำพร้าให้หลุดลอกออก เพื่อให้ฝ้าจางลง
    2. รักษาด้วยครีม ส่วนผสมในครีมประเภท Whitening ที่มีคุณสมบัติยับยั้งเอนไซม์สร้างเม็ดสีผิว เช่น
      – สารสกัดจากรากชะเอมเทศ
      – สารสกัดมะขามป้อม
      – สารสกัดทับทิม
      – วิตามินซี
    3. รักษาด้วยเลเซอร์ ND Yag 532 สามารถรักษาฝ้าระดับตื้นได้ สำหรับคนที่รักษาด้วยครีมไม่เห็นผล
    4. รักษาด้วย IPL ควรทำควบควบคู่ไปกับการทาครีม เพื่อป้องกันการสร้างเม็ดสีผิวขึ้นมาใหม่ หรือทำร่วมกับการผลัดเซลล์ผิว เพื่อให้เม็ดสีผิวจางลงเร็วยิ่งขึ้น *ควรใช้ครีมกันแดดร่วมไปกับการรักษาฝ้าเสมอ เพื่อป้องกันการเกิดฝ้าซ้ำ

สิวอักเสบ

สิวอักเสบ วิธีการป้องกันและรักษาสิวสิวอักเสบ

วิธีการป้องกันและรักษาสิวอักเสบ

สิวอักเสบ (Inflammatory Acne) แบ่งออก 3 ชนิด

    • สิวหัวแดง (Red papules) คือสิวที่เกิดอาการอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย C. acnes และแบคทีเรียชนิดแกรมบวก (Gram-positive bacteria)
    • สิวหัวหนอง (Pustules) คือสิวที่เกิดการอักเสบจาดเชื้อแบคทีเรียชนิดแกรมลบ (Gram-negative bacteria) ซึ่งมีการอักเสบที่รุนแรงกว่า หรืออาจเกิดจากเชื้อ Staphylococcus aureus ซึ่งเป็นแบคทีเรียชนิดแกรมบวก
    • สิวหัวช้าง (Cystic acne) คือสิวที่มีลักษณะเป็นซีสต์ (Cyst) หรือถุงน้ำ การเกิดสิวหัวช้างคล้ายกับการเกิดสิวหัวขาวแต่อักเสบกว่าและลุกลาม เป็นเม็ดนิ่มขนาดใหญ่และมีหนอง

วิธีการป้องกันและรักษาสิวสิวอักเสบ

    1. การใช้ยา ซึ่งต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์ผิวหนัง และต้องรับประทานยาให้ครบปริมาณตามคำสั่งของแพทย์เพื่อป้องกันการดื้อยา
      – ยาในกล่มต้านเชื้อแบคทีเรีย (Anti-biotic)
      – ยากลุ่มวิตามินเอสังเคราะห์ (Retinoid) เพื่อลดการอุดตันของรูขุมขน
    2. ใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสม BHA (Salicylic Acid) , PHA (Glucยากลุ่มวิตามินเอสังเคราะห์ (Retinoid) เพื่อลดการอุดตันของรูขุมขนonolactone) , LHA (Capryoyl Salicylic Acid) ช่วยผลัดเซลล์ผิวที่ตายแล้วให้หลุดออก และสารกลูแคน (Glucan) หรือแอลลันโดอิน (Allantoin) ช่วยให้สมานแผลให้หายเร็วขึ้น
    3. หลีกเลี่ยงการใช้ยาบางชนิด เช่น ยากลุ่มสเตียรอยด์ ซึ่งมีผลต่อการเปลี่ยนสภาพผิวหน้าให้เหมาะต่อการเจริญเติบโตของยีสต์ ซึ่งเป็นตัวการให้เกิดอักเสบบริเวณรูขุมขน
    4. หมั่นดูแลความสะอาดผิวหน้าเป็นประจำ โดยล้างหน้าวันละ 2-4 ครั้ง ตามสภาพผิวด้วยเจลล้างหน้าที่อ่อนโยน ทำความสะอาดผิวได้ดี ไม่ก่อให้เกิดการระคายเคือง และไม่ควรถูหรือนวดหน้าแรงๆ เพราะจะเป็นการกระตุ้นให้ต่อมไขมันแตกและเกิดการอักเสบได้

หลุมสิว

หลุมสิว วิธีการรักษาหลุมสิว

หลุมสิว

หลุมสิว?

หลุมสิว คือรอยแผลเป็นจากสิวชนิดหลุม เป็นกระบวนการรักษาตัวเองอย่างหนึ่ง เกิดจากการอักเสบของสิว ที่มีเชื้อแบคทีเรียและหนองอยู่ภายใน การอักเสบของผิวทำให้เกิดการหลั่งเอนไซม์ย่อยสลาย คอลลาเจนที่ผิวและเนื้อเยื่อรอบข้าง ทำให้ผิวบริเวณที่เกิดการอักเสบยุบตัวลงไป และร่างกายมีการสร้างพังผืดดึงรั้ง ทำให้เกิดหลุมสิว

วิธีการรักษาหลุมสิว

    1. การผลัดเซลล์ผิว (Peeling) เป็นการกระตุ้นให้เซลล์ผิวสร้างคอลลาเจนใหม่ ช่วยให้ผิวหน้าเรียบเนียนขึ้น ควรทำเดือนละ 1 ครั้ง
    2. การกรอหน้า การกรอหน้าหรือการกรอผิว จะช่วยผลัดเซลล์ผิวชั้นขี้ไคลออกได้ลึกกว่าการผลัดเซลล์ผิวธรรมดา สามารถทำร่วมกันได้ โดยการกรอหน้าสลับกับการผลัดเซลล์ผิว ทุกๆ 2 สัปดาห์ จะกระตุ้นการส้รางเส้นใยคอลลาเจนใหม่ เพื่อให้ผิวชั้นบนเรียบเนียนขึ้น
    3. การทาครีม การทาครีมที่มีส่วนผสมอนุพันธ์วิตามินเอก่อนนอนเพื่อลดรอยแผลเป็น หากรู้สึกแสบหรือระคายเคือง ให้ทาสลับกับเวชสำอางที่มีส่วนผสมของวิตามินซีในตอนเช้า ข้อดีของการทาครีมที่มีอนุพันธ์วิตามินเอคือสามารถซึมลงสู่ผิวชั้นล่างได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถใช้แทนการรักษาแบบไอออนโต (Iontophoresis)
    4. การทำเมโส (Mesotheraphy) การใช้เทคนิคเมโสฉีดสารอาหารเข้าใต้หลุมสิวทุกหลุม เพื่อให้เซลล์นำสารอาหารไปสร้างเส้นใยคอลลาเจนของตนเอง เพื่อให้หลุมสิวตื้นขึ้น และวิธีนี้ยังสามารถช่วยให้ผิวหน้าใสอีกด้วย
    5. การเลเซอร์ การเลเซอร์แบบคิว-เรย์ (Q-ray Laser) เป็นการฉายแสงเป็นจุดๆ และเปลี่ยนจากคลื่นแสงเป็นพลังงานความร้อนไปกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนขึ้นมาใหม่ ทำให้รอยหลุมตื้นขึ้นและช่วยรักษาริ้วรอยได้อีกด้วย

การรักษาขึ้นอยู่กับรักษาแผลของแต่ละบุคคล บางรายอาจต้องใช้หลายวิธีร่วมกันเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดี

เซลลูไลท์

เซลลูไลท์

เซลลูไลท์ (Cellulite)

เซลลูไลท์ หรือผิวเปลือกส้ม คือไขมันที่สะสมอยู่ใต้ผิวหนัง ส่งผลให้เลือดไหลเวียนไม่ดี จนทำให้ผิวบริเวณดังกล่าวเป็นตะปุ่มตะป่ำ คล้ายเปลือกส้ม โดยมีสาเหตุและปัจจัยมาจากกรรมพันธุ์ ฮอร์โมน การรับประทานอาหารที่มีไขมันและน้ำตาลสูง เช่น ของทอด ขนมหวาน เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การขาดการออกกำลังกาย ความเครียด เป็นต้น ซึ่งระดับความรุนแรงของผิวเปลือกส้มแบ่งเป็น 4 ระดับ ได้แก่

    • ระดับที่ 1 เกิดรอยนูนตะปุ่มตะป่ำ เมื่อจับผิวยกขึ้น
    • ระดับที่ 2 มองเห็นรอยนูนตะปุ่มตะป่ำ เมื่อให้เกร็งกล้ามเนื้อต้นขา
    • ระดับที่ 3 มองเห็นรอยนูนตะปุ่มตะป่ำ แม้ไม่เกร็งกล้ามเนื้อ
    • ระดับที่ 4 มีเยื่อหุ้มเซลล์ไขมัน คลำได้เป็นก้อนนูนแข็ง

การรักษาและป้องกันการเกิดเซลลูไลท์

    1. รักษาโดยการใช้คลื่นความถี่ RF (Radio Frequency) เป็นการใช้เครื่องมือที่ใช้คลื่นไฟฟ้าปล่อยผ่านผิวเข้าไปสู่ชั้นไขมัน ทำให้อุณหภูมิในชั้นไขมันสูงขึ้น ส่งผลให้เส้นใยคอลลาเจนเกิดการหดกระชับตัว และทำให้ระบบไหลเวียนเลือดและน้ำเหลืองทำงานได้ดีขึ้น จึงเพิ่มการขับของเสียออกทางน้ำเหลือง
    2. ทาครีมที่ช่วยลดเซลลูไลท์ โดยครีมจะช่วยให้ระบบไหลเวียนโลหิตทำงานได้ดีขึ้น ช่วยละลาย ไขมันทำให้ผิวเรียบเนียน
    3. ลดน้ำหนักและควบคุมอาหาร โดยการเลือกรับประทานที่มีไขมันต่ำ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันและน้ำตาลสูง เพื่อลดการสะสมไขมันในร่างกาย
    4. ออกกำลังกายเป็นประจำ ช่วยให้ผิวเปลือกส้มแลดูกระชับขึ้น พร้อมเสริมสร้างความแข็งแรง ของกล้ามเนื้อ
    5. ดูดไขมัน (Liposuction) เป็นวิธีที่เห็นผลเร็วแต่ผลข้างเคียงค่อนข้างมาก ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล