Keloid

Keloid (คีลอยด์)

Keloid?

คีลอยด์ Keloid คือแผลเป็นชนิดหนึ่งที่มีลักษณะเป็นแผลนูน มีขนาดใหญ่กว่ารอยแผลเดิม ผิวเป็นมันเงา อาจมีสีแดง หรือเปลี่ยนเป็นสีคล้ำหรือสีซีดลง เกิดขึ้นหลังผ่าตัด หรือหลังการเกิดบาดแผล และอาจรู้สึกเจ็บ คัน หรือระคายเคือง

สาเหตุ

เกิดจากความผิดปกติของกระบวนการสมานแผลของร่างกาย โดยปกติร่างกายจะสร้างเนื้อเยื่อและ คอลลาเจนเพื่อซ่อมแซมบาดแผล แต่แผลเป็นคีลอยด์เกิดการเจริญที่ผิดปกติของเส้นใยคอลลาเจนหรือมีการสร้างมากเกิน ทำให้ขอบเขตของแผลเป็นนูนขยายออกไปเรื่อยๆ มีขนาดใหญ่กว่ารอยแผลเดิม สามารถเกิดได้ทุกส่วนของร่างกาย แต่มักเกิดขึ้นบริเวณหน้าอก หัวไหล่ หลัง และติ่งหู

การรักษาKeloid

  1. การฉีดเสตียรอยด์ (Intralesional corticosteroid) ฉีดสเตียรอยด์บริเวณที่เป็นแผลเป็นคีลอยด์โดยตรง ซึ่งเป็นวิธีที่นิยมมากที่สุด โดยฉีดต่อเนื่อง ทุก 2 – 4 สัปดาห์ ติดต่อกัน 1 – 5 ครั้งขึ้นไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดของแผลเป็น
  2. การทำเลเซอร์ (Laser therapy) เช่น IPL (Intense Pulsed Light) มีความปลอดภัย ไม่เจ็บมาก ทำให้แผลแดงน้อยลง แผลเป็นมีขนาดเล็กลง วิธีนี้อาจต้องใช้เวลา และการดูแลรักษา และต้องมารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง
  3. ฟลูออโรยูราซิล (5 F.U) เนื่องจากคีลอยด์แบ่งตัวเร็วแบบเซลล์มะเร็ง สามารถใช้ฟลูออโรยูราซิลซึ่งเป็นยารักษามะเร็งฉีด เพื่อรักษาแผลเป็น ควรใช้ร่วมกับสเตียรอยด์ทำให้ได้ผลการรักษาดีและเร็วขึ้น
  4. การฉายรังสี (Radio therapy) เพื่อป้องกันไม่ให้แผลเป็นนูนมากขึ้น ได้ผลพอสมควรในการรักษาคีลอยด์ แต่แพทย์ไม่นิยมหรือ ไม่แนะนำในการรักษา
  5. การผ่าตัด เป็นวิธีการตัดแผลออกหรือลดขนาดของแผลเป็นให้เล็กลง ใช้ในกรณีแผลเป็นใช้วิธีการรักษาด้วยวิธี ข้างต้นไม่ได้ผลหรือมีปัญหาดึงรั้ง แต่อาจเสี่ยงต่อการเกิดแผลเป็นนูนใหม่ และใหญ่กว่าเดิม
เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล