ลมพิษ

ลมพิษ (Urticaria)

ลมพิษ หรือผื่นลมพิษ (Urticaria) เป็นอาการแสดงทางผิวหนัง ที่มีลักษณะเป็นผื่นนูน แดง และคัน

ซึ่งเกิดได้จากหลายปัจจัย อาจเกิดจากสาเหตุที่ร่างกายมีปฏิกิริยาต่อยา อาหาร การติดเชื้อ สิ่งกระตุ้น ทางกายภาพ (Physical) หรือโรคในระบบอื่นๆ ของร่างกาย

อาการและอาการแสดง

มีผื่นเป็นลักษณะบวมนูน แดง เป็นปื้น ขอบเขตชัดเจน มีขนาดไม่แน่นอน บางรอยโรคจะมีสีซีด ตรงกลาง เกิดขึ้นบริเวณใดของร่างกายก็ได้ บางรายอาจมีอาการบวมใต้ชั้นผิวหนังที่เรียกว่า แองจิโออีดีมา (angioedema) ร่วมด้วย มักเกิดบริเวณเนื้ออ่อน เช่น หนังตา ริมฝี ปาก เป็นต้น ผื่นมักจะจางหายภายใน 24 ชั่วโมง เมื่อหายแล้วจะเป็นผิวหนังปกติไม่มีร่องรอยเหลืออยู่ ผื่นมักจะเป็นๆหายๆ

โรคลมพิษแบ่งตามระยะเวลาที่เกิดได้ 2 ชนิด คือ

  1. ลมพิษแบบเฉียบพลัน (acute urticaria) คือมีอาการผื่นลมพิษ ต่อเนื่องกันไม่เกิน 6 สัปดาห์
  2. ลมพิษแบบเรื้อรัง (chronic urticaria) คือมีอาการผื่นลมพิษ ต่อเนื่องกันเกิน 6 สัปดาห์ ลมพิษที่เกิดขึ้นเมื่อมีการกระตุ้นจากสาเหตุทางกายภาพภายนอก (Physical Urticaria) มีหลายชนิดได้แก่
    – Dermographism urticaria: ลมพิษที่เกิดเมื่อมีการเกา หรือการขีดที่ผิวหนัง
    – Cholinergic urticaria: ลมพิษที่เกิดขึ้นเมื่ออุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้น เช่น เมื่อออกกำลังกาย
    – Cold urticaria: ลมพิษที่เกิดจากความเย็น เช่น สัมผัสกับน้ำเย็นหรืออากาศเย็น
    – Heat urticaria: ลมพิษที่เกิดจากความร้อน เช่น อากาศร้อนหรือสัมผัสกับความร้อน
    – Contact urticaria: ลมพิษที่เกิดขึ้นจากการสัมผัส เช่น ยา เครื่องสำอาง ขนสัตว์ หรือสารเคมีบางชนิด
    – Delayed pressure urticaria: ลมพิษที่เกิดจากการกดทับบนผิวเป็นเวลานาน
    – Aquagenic urticaria: ลมพิษที่เกิดเมื่อสัมผัสกับน้ำ
    – Solar urticaria: ลมพิษเกิดขึ้นเมื่อเผชิญแสงแดดหรือรังสี UV
    – Vibratory angioedema: ลมพิษเกิดขึ้นเมื่อสัมผัสแรงสั่นสะเทือน เช่น เครื่องขุดเจาะถนน หรือหลังใช้เครื่องนวดระบบสั่น

การรักษา

  1. หาสาเหตุ เพื่อหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นให้เกิดลมพิษ เช่น ความเครียด อากาศร้อน อาการเย็น ยาบางประเภท สารเคมี
  2. ยาต้านอิสตามีน (H1 and H2-antihistamines)
เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล