Keloid

Keloid (คีลอยด์)

คีลอยด์ คือแผลเป็นชนิดหนึ่งที่มีลักษณะเป็นแผลนูน มีขนาดใหญ่กว่ารอยแผลเดิม ผิวเป็นมันเงา อาจมีสีแดง หรือเปลี่ยนเป็นสีคล้ำหรือสีซีดลง เกิดขึ้นหลังผ่าตัด หรือหลังการเกิดบาดแผล และอาจรู้สึกเจ็บ คัน หรือระคายเคือง

สาเหตุ

เกิดจากความผิดปกติของกระบวนการสมานแผลของร่างกาย โดยปกติร่างกายจะสร้างเนื้อเยื่อและ คอลลาเจนเพื่อซ่อมแซมบาดแผล แต่แผลเป็นคีลอยด์เกิดการเจริญที่ผิดปกติของเส้นใยคอลลาเจนหรือมีการสร้างมากเกิน ทำให้ขอบเขตของแผลเป็นนูนขยายออกไปเรื่อยๆ มีขนาดใหญ่กว่ารอยแผลเดิม สามารถเกิดได้ทุกส่วนของร่างกาย แต่มักเกิดขึ้นบริเวณหน้าอก หัวไหล่ หลัง และติ่งหู

การรักษา

  1. การฉีดเสตียรอยด์ (Intralesional corticosteroid) ฉีดสเตียรอยด์บริเวณที่เป็นแผลเป็นคีลอยด์โดยตรง ซึ่งเป็นวิธีที่นิยมมากที่สุด โดยฉีดต่อเนื่อง ทุก 2 – 4 สัปดาห์ ติดต่อกัน 1 – 5 ครั้งขึ้นไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดของแผลเป็น
  2. การทำเลเซอร์ (Laser therapy) เช่น IPL (Intense Pulsed Light) มีความปลอดภัย ไม่เจ็บมาก ทำให้แผลแดงน้อยลง แผลเป็นมีขนาดเล็กลง วิธีนี้อาจต้องใช้เวลา และการดูแลรักษา และต้องมารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง
  3. ฟลูออโรยูราซิล (5 F.U) เนื่องจากคีลอยด์แบ่งตัวเร็วแบบเซลล์มะเร็ง สามารถใช้ฟลูออโรยูราซิลซึ่งเป็นยารักษามะเร็งฉีด เพื่อรักษาแผลเป็น ควรใช้ร่วมกับสเตียรอยด์ทำให้ได้ผลการรักษาดีและเร็วขึ้น
  4. การฉายรังสี (Radio therapy) เพื่อป้องกันไม่ให้แผลเป็นนูนมากขึ้น ได้ผลพอสมควรในการรักษาคีลอยด์ แต่แพทย์ไม่นิยมหรือ ไม่แนะนำในการรักษา
  5. การผ่าตัด เป็นวิธีการตัดแผลออกหรือลดขนาดของแผลเป็นให้เล็กลง ใช้ในกรณีแผลเป็นใช้วิธีการรักษาด้วยวิธี ข้างต้นไม่ได้ผลหรือมีปัญหาดึงรั้ง แต่อาจเสี่ยงต่อการเกิดแผลเป็นนูนใหม่ และใหญ่กว่าเดิม

SLE

SLE (Systemic Lupus Erythematosus)

SLE หรือโรคแพ้ภูมิตัวเอง เป็นความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ที่ก่อให้เกิดการอักเสบและทำลายเซลล์ในร่างกายหรืออวัยวะต่างๆ ซึ่งสามารถเกิดได้ทุกส่วนของร่างกาย

สาเหตุ

สาเหตุของการเกิดโรคยังไม่ทราบแน่ชัด อาจเกิดจาก พันธุกรรม สภาพแวดล้อม ฮอร์โมนเพศหญิง (ฮอร์โมนเอสโตรเจน) การใช้ยาบางชนิด หรือเชื้อไวรัส

อาการของโรค

1. กลุ่มอาการแสดงเฉพาะระบบผิวหนัง

โดยปกติ 80% ของโรคมักมีอาการแสดงที่ผิวหนัง เช่น ผื่นแดงตามผิวหนัง มีลักษณะเป็นผื่นกลมแดงมีสะเก็ต ขอบเขตชัดเจน หนานูนเล็กน้อย มักขึ้นตามใบหน้า ใบหู ตามตัวหรือกระจายทั่วตัว บางรายผื่นมีลักษณะเป็นก้อนนูนหนา เมื่อหายผิวหนังจะบุ๋มลึก หรือหากเกิดขึ้นบริเวณศีรษะ มักก่อให้เกิดผมร่วงเป็นหย่อม หรือเรียกว่า DLE (Discoid Lupus Erythematosus)

2. กลุ่มอาการแสดงครบ 4 อย่างใน 11 ข้อ ต่อไปนี้
2.1. อาการผื่นแดงบนใบหน้า ตัว แขน ขาหรือทั้งตัว (Malar rash)
2.2. อาการผื่นแดงนูนหนา ขอบเขตชัดเจน มีสะเก็ดสีขาวหนา (Discold rash)
2.3. ผื่นแดงเนื่องจากแพ้แสงแดด (Photosensitivity)
2.4. แผลในปาก มักเกิดบริเวณเพดานปาก (Oral ulcers)
2.5. ข้อบวม ปวดข้อ (Non-erosive arthritis)

2.6. เยื่อหุ้มปอดหรือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ (Pleuritis or pericarditis)
2.7. ความผิดปกติทางไต ไตอักเสบ (Renal disorder)
2.8. อาการทางระบบประสาท มีอาการชักหรือมีอาการทางจิตเวช (Neurologic disorder) 2.9. ความผิดปกติของระบบโลหิต อาการซีด ตรวจพบเม็ดเลือดขาวต่ำ หรือเกล็ดเลือดต่ำ (Hematologic disorder)
2.10. ตรวจพบความผิดปกติ Antibody เช่น Anti-dsDNA หรือ Anti-Sm หรือตรวจพบ Antiphospholipid antibody (Immunologic disorder)
2.11. ตรวจพบ Antinuclear antibody (Positive antinuclear antibody)

3. ไม่พบอาการแสดงทั้ง 2 กลุ่ม แต่ตรวจพบจากทางห้องปฏิบัติการ หรือ อิมมูโนพยาธิวิทยา (Immunohistochemistry)

การรักษา

การรักษาขึ้นกับอาการแสดงของแต่ละบุคคลและความรุนแรงของโรค ทั้งนี้แพทย์จะวินิจฉัยตามความเหมาะสม

ข้อควรปฏิบัติ

  1. ควรรับประทานยาตามแพทย์สั่งและรับการรักษาอย่างต่อเนื่อง ไม่ควรหยุด เพิ่มหรือลดขนาดยาเอง
  2. ควรสังเกตอาการผิดปกติของร่างกายอยู่สม่ำเสมอ
  3. แสงแดดเป็นปัจจัยหนึ่งที่กระตุ้นให้เกิดผื่นเพิ่มมากขึ้น ควรทาครีมกันแดดสม่ำเสมอ
  4. การรับประทานยาคุม หรือฉีดยาคุมกำเนิด อาจทำให้โรคกำเริบได้ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้ยา
  5. วางแผนครอบครัวกับแพทย์ผู้รักษาก่อนตั้งครรภ์
  6. พักผ่อนให้เพียงพอ

รังแค

รังแคเกิดจาก?

รังแคเกิดจาก?

รังแคเป็นปัญหาเส้นผมและหนังศีรษะที่เกิดขึ้นได้บ่อยครั้ง โดยมีสาเหตุมาจากการหลุดลอกของผิวหนังร่วมกับความมันบนหนังศีรษะ เมื่อเกิดการสะสมจึงเกิดเป็นรังแค สามารถเกิดบริเวณใดบริเวณหนึ่ง หรือทั่วหนังศีรษะ บางรายอาจมีกลิ่น มีอาการคัน และหนังศีรษะบวมแดงร่วมด้วย นอกจากนี้รังแคอาจเกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น สระผมบ่อยเกินไป ส่งผลให้หนังศีรษะแห้ง หรืออาจเกิดจากความชื้นและการสะสมของเชื้อรา ประกอบกับการเกาและขยี้หนังศีรษะทำให้หนังศีรษะอักเสบเพิ่มขึ้น ส่งผลให้เกิดการหลุดลอกของผิวหนัง หรืออาจเกิดจากโรคผิวหนังต่างๆ เช่น โรคผิวหนังอักเสบ (Seborrheic Dermatitis) โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis) ผื่นผิวหนังอักเสบ (Eczema) ผิวหนังอักเสบจากการแพ้ผลิตภัณฑ์ที่ใช้กับศีรษะ เป็นต้น

การรักษารังแค

โดยปกติการรักษารังแคมักแนะนำให้ใช้แชมพูเวชสำอาง เช่น

  • แชมพูที่มีส่วนผสมของสารคีโตโคนาโซล (Ketoconazole) เพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อยีสต์ พี.โอวาเล (P.Ovale) สาเหตุของผิวหนังศีรษะอักเสบจากรังแค
  • แชมพูที่มีส่วนผสมของสารไพร็อกโดน โอลามีน (Piroctone Olamine) ซึ่งช่วยขจัดรังแคและลดอาการคันหนังศีรษะ
  • แชมพูที่มีส่วนผสมของน้ำมันดิน (Coal tar) มักใช้รักษารังแคหนาๆ หรือโรคสะเก็ดเงิน
  • แชมพูที่มีส่วนผสมของโซเดียม เชลล์ ออยล์ ซัลโฟเนต (Sodium Shale Oil Sulfonate) เพื่อลดการหลุดลอกของเซลล์ผิวบนหนังศีรษะ จึงลดการเกิดรังแค

การป้องกันรังแค

  • หลีกเลี่ยงการสระผมในเวลากลางคืน เนื่องจากอาจทำให้เกิดการสะสมของเชื้อราและรังแคบนหนังศีรษะ ทั้งนี้หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ แนะนำให้เป่าผมให้แห้งสนิทก่อนนอน

ข้อแนะนำ: เพื่อการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสมกับสาเหตุของการเกิดรังแค ควรเข้ารับการรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนัง

ผมร่วง (Hair Loss)

ผมร่วง (Hair Loss)

ผมร่วง

โรคผมร่วงเป็นหย่อม (Alopecia areata)

เป็นโรคผมร่วงที่ไม่ทราบ สาเหตุ เกิดได้ทุกส่วนของร่างกายที่ผมหรือขน อาจมีเพียงหย่อมเดียวหรือหลายหย่อม แล้วขยายรวมเป็นวงกว้างข้างศีรษะ เรียกว่า Alopecia totalis ถ้ามีขนบริเวณอื่นๆ ร่วงร่วมด้วยทั่วร่างกาย เช่น หัวคิ้ว ขนตา ขนตามตัว รักแร้ และหัวหน่าว เรียกว่า Alopecia universalis

อาการ

ผมร่วงอาจไม่มีอาการ อาจเป็นแบบเฉียบพลันหรือค่อยเป็นค่อยไป ผมร่วงมีขอบเขตชัดเจน เป็นวงกลมหรือวงรี บริเวณผมร่วงมักไม่มีสะเก็ด ขุย หรือเป็นแผลเป็น อาจพบเส้นผมที่มีขนาดสั้น รูปร่างคล้ายเครื่องหมายอัศเจรีย์ (Exclamation-mark hair) คือโคนผมเรียวเล็กแคบกว่าปลายเส้นผม อาจพบความผิดปกติของเล็บร่วมด้วย เช่น เล็บเป็นหลุมเล็กๆ (Pitting nail) ในบางรายอาจพบร่วมกับโรคโลหิตจาง, โรคของต่อมไทรอยด์ หรือมักเกิดจากความเครียด วิตกกังวล พักผ่อนน้อย

การรักษา

ใน บางรายที่มีผมร่วงเป็นหย่อมขนาดเล็ก อาจหายได้เองภายใน 6 เดือน แต่ถ้ามีอาการร่วงหลายหย่อม หรือเป็นแบบ Alopecia totalis และ Alopecia universalis การรักษามีหลายวิธี พิจารณาจากความรุนแรงของโรคอายุผู้ป่วย เป็นต้น

โรคผมบางจากกรรมพันธุ์ (Androgenetic Alopecia) หรือโรคศีรษะล้าน

เป็น ภาวะที่เกิดจากปัจจัยทางพันธุกรรมร่วมกับภาวะฮอร์โมนเพศชาย (Androgen) ที่มากกว่าปกติ โดยในผู้ชายพบสาเหตุจากฮอร์โมนชัดเจนมากกว่าเพศหญิง ในผู้หญิง สาเหตุส่วนใหญ่ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด คาดว่าน่าจะมาจากหลายปัจจัยนอกจากสาเหตุทางพันธุกรรม ปัจจุบันนิยมเรียกใหม่ว่า โรคผมขาวที่มีรูปแบบเฉพาะ (Male and Female pattern Hair Loss)

ภาวะนี้มักเกิดหลังวัยรุ่น เพศชายเกิดภาวะนี้ได้ในคนอายุน้อยกว่าเพศหญิง เพศหญิงที่พบภาวะนี้ในคนสูงอายุกว่า ในผู้ชายผิวขาวพบว่าอัตราการเกิดผมบาง 50% ที่คนอายุ 50 ปี ในผู้หญิงผิวขาวพบมีผมบาง 40% ที่อายุ 70 ปี คนเอเชียพบน้อยกว่าคนผิวขาวหรือแอฟริกันกับอเมริกัน ส่วนในชายไทยมีการศึกษาพบอัตราการเกิดผมบางประมาณ 38.52%

ในผู้ชายผม มักเริ่มบางตั้งแต่บริเวณไรผม บริเวณหน้าผากขึ้นไป ต่อมาบริเวณกลางศีรษะจึงเริ่มบาง เมื่อเวลาผ่านไปก็จะบางเป็นบริเวณกว้าง ในผู้หญิง มักมีการบางบริเวณกลางศีรษะมากกว่าด้วนหน้าผาก

การรักษา

  • ในผู้ชาย สามารถรักษาด้วยยาทา 2–5% Minoxidil ร่วมกับการรับประทานยา Finasteride 1 mg
  • ในผู้หญิง ควรรักษาด้วยยาทา 2–5% Minoxidil เพียงอย่างเดียว เนื่องจากยา Finasteride 1 mg อาจมีผลต่อความผิดปกติของทารกขณะตั้งครรภ์

กำจัดขน

การกำจัดขนใต้วงแขนให้เรียบเนียน

ปัญหาผิวใต้วงแขนไม่เรียบเนียน แม้จะเป็นเพียงแค่ปัญหาเล็กๆ แต่ก็ทำให้ขาดความมั่นใจในการสวมใส่เสื้อผ้าได้เหมือนกัน ซึ่งหลายคนอาจจะเคยลองมาหลายวิธีแล้วทั้งใช้ โรลออน สครับผิว ทั้งทรีทเมนต์ แต่ก็ยังไม่ดีขึ้น การทำเลเซอร์กำจัดขน (Laserhair removal) อาจเป็นหนึ่งในตัวเลือกที่จะช่วยฟื้นฟูผิวใต้วงแขนให้เรียบเนียน กระจ่างใส ในระยะเวลาอันรวดเร็ว การเตรียมตัวในการทำเลเซอร์กำจัดขน

การเตรียมตัวในการทำเลเซอร์กำจัดขน

  • หลีกเลี่ยงการถอน หรือแวกซ์ขนอย่างน้อย 4 สัปดาห์ เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนทำเลเซอร์กำจัดขน
  • งดการสครับ และทรีทเมนต์ผิว บริเวณใต้วงแขน เพื่อหลีกเลี่ยงการระคายเคือง
  • หลีกเลี่ยงแสงแดดตรงบริเวณที่รับการรักษา ช่วง 4 สัปดาห์แรกก่อนทำเลเซอร์ เพื่อผลลัพธ์ที่ดีในการกำจัดขน

ผลข้างเคียงหลังทำ

  • อาจเกิดรอยแดงหรือ บวมเล็กน้อย รอบรูขุมขนในบริเวณที่ได้รับการรักษา ซึ่งจะหายเองภายใน 24 ชม.

ข้อแนะนำหลังทำ

  • ขนจะหลุดออกภายใน 1 สัปดาห์ และขนอ่อนจะขึ้นใหม่ภายใน 4 – 12 สัปดาห์
  • ควรรักษาทุก 4 สัปดาห์ และควรทำต่อเนื่อง 5 – 8 ครั้ง เพื่อผลลัพธ์ที่ยาวนานยิ่งขึ้น
  • ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสแสงแดด ในบริเวณที่ได้รับการรักษา
  • ระหว่างทำทรีทเมนต์ไม่ควรแวกซ์หรือถอนขน แต่สามารถโกนขนได้ตามปกติ

กระ (Freckles)

กระ (Freckles)

แพทย์จะเป็นผู้ประเมินแนวทางการรักษาตามปัญหาที่เกิดขึ้น บางครั้งไม่สามารถรักษาด้วยวิธีเดียวกันในทุกคนได้ รวมถึงในการรักษาอาจมีการผสมผสานหลายวิธี ไม่จำเป็นต้องรักษาแบบเดิมทุกครั้งไป โดยมีทั้งการรักษาด้วยการผลัดเซลล์ผิวสูตรเฉพาะของธาดาคลินิก และการรักษาโดยใช้เลเซอร์

การผลัดเซลล์ผิวสูตรเฉพาะของธาดาคลินิก

เป็นการทำทรีตเมนท์สูตรเฉพาะของธาดาคลินิก ที่ช่วยเร่งให้เซลล์ผิวหนังชั้นบนสุดที่เสื่อมสภาพแล้วหลุดออก และช่วยกระตุ้นการสร้างเซลล์ผิวใหม่ขึ้นมาแทนที่ ทำให้ผิวขาวกระจ่างใส ลดปัญหากระ ผิวเนียนนุ่มและอ่อนเยาว์ โดยมีสูตรต่างๆสำหรับสภาพผิวและระดับปัญหาที่ต่างกัน หรืออาจเป็นการรักษาเฉพาะจุด ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้พิจารณา

การรักษาโดยใช้เลเซอร์

เป็นเลเซอร์สำหรับทำลายเม็ดสี ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้ประเมินวิธีการรักษา หากเป็นกระตื้นที่เห็นชัดเจนอาจใช้การยิงให้ขึ้นสะเก็ดแล้วหลุดออก หรือเลเซอร์ทำลายเม็ดสีส่วนเกิดออกบางส่วน ใช้ระยะเวลาในการทำประมาณ 20-30 นาทีต่อครั้ง หลังทำอาจมีรอยแดงบริเวณที่ทำการรักษาซึ่งจะหายได้เองภายใน 5–60 นาที

ฝ้า (Melasma)

ฝ้า (Melasma)

แพทย์จะเป็นผู้ประเมินแนวทางการลดเลือนฝ้าตามลักษณะและระดับปัญหาสำหรับผู้รับการรักษาแต่ละคนเป็นรายๆ ไป เนื่องจากระดับของปัญหาฝ้ามีความแตกต่างกันค่อนข้างมาก บางครั้งไม่สามารถรักษาด้วยวิธีเดียวกันในทุกคนได้ รวมถึงในการรักษาอาจมีการผสมผสานหลายวิธี ไม่จำเป็นต้องรักษาแบบเดิมทุกครั้งไป โดยมีทั้งการรักษาด้วยการผลัดเซลล์ผิวสูตรเฉพาะของธาดาคลินิก และการรักษาโดยใช้เลเซอร์

การผลัดเซลล์ผิวสูตรเฉพาะของธาดาคลินิก

เป็นการทำทรีตเมนท์สูตรเฉพาะของธาดาคลินิก ที่ช่วยเร่งให้เซลล์ผิวหนังชั้นบนสุดที่เสื่อมสภาพแล้ว หลุดออก และช่วยกระตุ้นการสร้างเซลล์ผิวใหม่ขึ้นมาแทนที่ ทำให้ผิวขาวกระจ่างใส ลดเลือนฝ้า ผิวเนียนนุ่มและอ่อนเยาว์ โดยมีสูตรต่างๆ สำหรับสภาพผิวและระดับปัญหาที่ต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์

Q Switched Nd YAG Laser

การรักษาโดยใช้เลเซอร์ เป็นเลเซอร์สำหรับทำลายเม็ดสี ช่วยรักษาปัญหา ฝ้า กระ สีผิวไม่สม่ำเสมอ และกระตุ้นผิวให้สร้างคอลลาเจน ใช้เวลาในการทำครั้งละประมาณ 20-30 นาที ควรรับบริการอย่างต่อเนื่องตามที่แพทย์แนะนำ ประมาณ 4-5 ครั้ง ทุก 3 สัปดาห์ เพื่อผลการรักษาที่ชัดเจน ซึ่งระยะห่างในการทำขึ้นอยู่กับสภาพผิวของแต่ละบุคคล หลังทำอาจมีรอยแดงบริเวณที่ทำการรักษา แต่จะหายได้เองภายใน 5–60 นาที

** ควรทากันแดดอย่างสม่ำเสมอและเลี่ยงออกแดดจัด

สิว (Acne)

สิว (Acne)

Acne Injection ฉีดสิว

การฉีดสิวเป็นวิธีการรักษาเร่งด่วนที่ได้รับความนิยม หากมีสิวอักเสบไม่มากก็ถือเป็นวิธีการรักษาที่ช่วยลดการทานยาได้ รวมถึงลดโอกาสที่จะเกิดแผลเป็นด้วย ทั้งนี้แพทย์จะเป็นผู้พิจารณาว่าสิวเม็ดไหนสามารถรับการรักษาโดยการฉีดได้และกำหนดปริมาณยาให้เหมาะสมเพื่อการรักษาที่ดีที่สุด

กำจัดสิวเสี้ยน

Blackhead Removal กำจัดสิวเสี้ยน

กำจัดสิวเสี้ยน ด้วยสูตรเฉพาะที่มีคุณสมบัติในการละลายสิวเสี้ยนให้อ่อนและหลุดง่าย รักษาโดยผู้เชี่ยวชาญ ภายใต้วัสดุอุปกรณ์ที่ได้มาตรฐาน สถานที่สะอาดปลอดภัย

กดสิว

Comedone Extraction กดสิว

การกดสิว หลายคนมองเป็นเรื่องปกติ ทำง่ายๆ หลายคนกดสิวเองเป็นประจำ หลายคนกลัวการกดสิวเพราะมองว่าจะทำให้หน้าเป็นหลุมหรือแผลเป็น แท้จริงแล้วการกดสิวมีความจำเป็นต่อการรักษาสิวให้ได้ผลเร็วขึ้น ซึ่งการกดสิวควรทำกับผู้เชี่ยวชาญที่มีความชำนาญและประสบการณ์ ต้องประเมินว่าสิวเม็ดไหนกดออกได้ เม็ดไหนไม่ควรกดออก และต้องกดอย่างถูกวิธีเพื่อให้สิวออกหมดแล้วไม่ช้ำ

การกดสิวเป็นการช่วยเสริมการรักษาให้ดีขึ้น จำเป็นต้องอาศัยเครื่องมือที่สะอาดผ่านการฆ่าเชื้อโรคแล้ว และวิธีการกดที่ถูกต้อง

ผลัดเซลล์ผิวทำความสะอาดร่องขุมขน

Deep Pore Cleansing Peels ผลัดเซลล์ผิวทำความสะอาดร่องขุมขน

การทำ Deep Pore Cleansing Peels เป็นการทำทรีทเมนท์สูตรเฉพาะของธาดาคลินิก ที่ช่วยเร่งให้เซลล์ผิวหนังชั้นบนสุดซึ่งเสื่อมสภาพแล้ว หลุดออก และช่วยกระตุ้นการสร้างเซลล์ผิวใหม่ขึ้นมาแทนทำให้ผิวเนียนนุ่มและอ่อนเยาว์ โดยมีสูตรต่างๆสำหรับสภาพผิวและปัญหาที่ต่างกัน โดยแพทย์จะเป็นผู้พิจารณา

  • Fractional Desmosomalytic(FD) ช่วยเปิดรูขุมขน ทำให้สิ่งสกปรกที่ตกค้างอยู่หลุดออก หลังการทำทรีทเมนท์นี้ ผิวจะดูขาวกระจ่างใสขึ้นทันที หากทำเป็นประจำอย่างต่อเนื่องทุกๆ 2 – 4 สัปดาห์ ยังสามารถช่วยให้ริ้วรอยดูจางลง และชะลอริ้วรอยเกิดใหม่ได้อีกด้วย

  • Blue Peel ใช้ในการรักษาสิวหรือรอยแผลเป็นที่เกิดจากสิวและยังใช้ในการรักษาฝ้าที่เป็นไม่มากนักหลังทำอาจไม่มีการลอกเลยแต่บางรายอาจมีการลอกเป็นขุยทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพผิวสามารถทำได้ทุก 2 สัปดาห์

  • Yellow Peel ช่วยเปิดรูขุมขน รักษาสิว รอยดำจากสิวฝ้าในระยะเริ่มต้น และริ้วรอยเล็กๆ เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาเรื่องริ้วรอยซึ่งยังไม่มากนัก สามารถทำได้ทุก 2 สัปดาห์ เห็นผลใน 1 – 3 เดือน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพผิว

  • TCA Peel มีความเข้มข้นหลายระดับ ใช้ในการรักษาฝ้า สิว และปรับสภาพผิวให้ดูสว่างขึ้น นอกจากนี้ยังกระตุ้นการสร้างใยคอลลาเจน ช่วยให้ผิวเรียบเนียนเต่งตึงขึ้นด้วยและยังสามารถทำกับผิวส่วนอื่นนอกเหนือจากบริเวณหน้าได้ เช่น รักษาสิวและรอยแผลเป็นจากสิวบริเวณอกและหลัง ภายหลังการทำจะมีการลอกออกของเซลล์ผิวที่ตายแล้วประมาณ 1 – 3 สัปดาห์ สามารถทำได้ทุก 4 สัปดาห์ หลังทำควรหลีกเลี่ยงการเผชิญกับแสงแดดและทาครีมกันแดดที่มีค่า SPF 15 เป็นอย่างน้อย

Deep Pore Cleansing Peels For Back

ผลัดเซลล์ผิวทำความสะอาดร่องขุมขนบริเวณแผ่นหลัง

การผลัดเซลล์ผิวทำความสะอาดร่องขุมขนบริเวณแผ่นหลังเป็นการทำทรีทเมนท์สูตรเฉพาะของธาดาคลินิก ช่วยเร่งให้เซลล์ผิวหนังชั้นบนสุดที่เสื่อมสภาพแล้วหลุดออก และช่วยกระตุ้นการสร้างเซลล์ผิวใหม่ขึ้นมาแทนที่ ช่วยลดปัญหาการเกิดสิวบริเวณแผ่นหลัง และช่วยให้รอยสิวจางลง ผิวเรียบเนียนขึ้น

ระยะเวลาที่ใช้ในการรักษา ใช้เวลาในการรักษาประมาณ 20 นาที โดยอาจเร็วหรือช้ากว่านั้นขึ้นอยู่กับบริเวณที่ทำการรักษาและดุลยพินิจของแพทย์

Acne Scar

แผลเป็นจากสิวและหลุมสิว

การรักษาปัญหาแผลเป็นจากสิวและหลุมสิวทำได้หลายวิธี โดยธาดาคลินิก มีทางเลือกที่ให้ผลดีและเสียค่าใช้จ่ายไม่มากในการรักษา รวมถึงเป็นวิธีที่เกิดผลข้างเคียงน้อยอีกด้วย ในการวางแนวทางการรักษา แพทย์จะพิจารณาปัญหาและสภาพผิวของแต่ละบุคคล เพื่อเลือกแนวทางที่ดีที่สุดในการแก้ไขในแต่ละราย

Deep Pore Cleansing Peels

  • การทำ Deep Pore Cleansing Peels เป็นการทำทรีตเมนท์สูตรเฉพาะของธาดาคลินิกที่ช่วยเร่งให้เซลล์ผิวหนังชั้นบน สุดที่เสื่อมสภาพแล้วหลุดออกและช่วยกระตุ้นการสร้างเซลล์ผิวใหม่ขึ้นมาแทน ที่ ทำให้ผิวที่ไม่เรียบเนียนจากปัญหาแผลเป็นจากสิวดูตื้นขึ้น เรียบเนียนขึ้น มีสูตรต่างๆ สำหรับสภาพผิวและปัญหาที่ต่างกัน โดยแพทย์จะเป็นผู้พิจารณา ควรหลีกเลี่ยงการเผชิญกับแสงแดดจัดและทาครีมกันแดดทุกครั้ง

การรักษาหลุมสิวโดยการใช้เข็มขนาดเล็กเซาะลงไปใต้ผิวหนังบริเวณที่เป็นหลุมสิว เพื่อตัดพังผืดใต้ผิวหนังที่รั้งหลุมสิว ส่งผลให้มีการสร้างเนื้อผิวขึ้นมาใหม่เพื่อหนุนให้หลุมสิวตื้นขึ้น หลังทำจะเกิดรอยช้ำจางๆ ขนาดเล็กบริเวณหลุมแผลเป็น ซึ่งจะหายภายใน 1 สัปดาห์

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล