ซาวน่า

ซาวน่า

ซาวน่า (Sauna)

ซาวน่า

การอาบซาวน่าแสงฟาร์อินฟราเรด (Far Infrared) เป็นนวัตกรรมใหม่ที่ช่วยเสริมสร้างสุขภาพร่างกายและผิวพรรณ พลังงานความร้อนจากคลื่นอินฟราเรดจะให้ความอบอุ่นต่อร่างกาย เหมือนกับพลังงานแสงอาทิตย์ แต่ไม่มีรังสียูวีจึงไม่มีผลข้างเคียงต่อร่างกาย

การทำงานของแสงอินฟราเรด

แสงอินฟราเรด จะไปกระตุ้นโมเลกุลน้ำให้เปลี่ยนเป็นไอออน ทำให้เลือดหมุนเวียนได้ดีขึ้น ส่งผลให้การทำงานของระบบต่างๆ ภายในร่างกายดีขึ้น

ประโยชน์ของการซาวน่า

    1. กระตุ้นการไหลเวียนเลือด
    2. เร่งการขับเหงื่อ ล้างสารพิษออกจากร่างกาย
    3. ชะลอวัย ช่วยให้ผิวพรรณผ่องใส สุขภาพดี
    4. กระตุ้นการเผาหลาญไขมันได้ดี ลดเซลล์ลูไลต์ และอาการบวมน้ำ
    5. ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ลดความตึงเครียด
    6. แสงอินฟราเรดทำให้ร่างกายอุ่นและมีความปลอดภัยสูง เหมาะกับทุกเพศ ทุกวัย ต่างจากการซาวน่าทั่วไปที่ใช้ความร้อนสูงมาก และส่งกับผลเสียต่อร่างกายได้

ข้อควรระวัง

    1. ห้ามทำระหว่างมีประจำเดือน เพราะอาจทำให้เกิดการตกเลือดเพิ่มมากขึ้น
    2. คนที่มีโรคความดันโลหิตสูง
    3. ผู้หญิงตั้งครรภ์ ควรปรึกษาแพทย์ก่อน

Hyperpigmentation

Hyperpigmentation

Hyperpigmentation

Hyperpigmentation?

  ฝ้า (Melasma) คือรอยดำเป็นแผ่น หรือปื้นตามใบหน้า มักจะเกิดบริเวณแก้ม จมูก หน้าผาก คาง บริเวณเหนือริมฝีปาก เกิดจากเซลล์ผลิตเม็ดสีผิวมากเกินไป (Hyperpigmentation) ทำให้ผิวบริเวณนั้นมีสีเข้มขึ้นบริเวณเล็กๆ จนกระทั่งลุกลามเป็นปื้นขนาดใหญ่ขึ้นส่วนใหญ่มักเกิดในผู้หญิงอายุ 25-55 ปี

สาเหตุที่ทำให้เกิด “ฝ้า” มีอะไรบ้าง

    1. การทานยาคุมกำเนิด เพราะจะทำให้ผิวหน้าไวต่อแสงแดดมากขึ้น การที่ผิวสัมผัสกับแดดโดยตรงและเป็นเวลานานๆ จะกระตุ้นให้เซลล์ผิวเม็ดสีผิว (melanin) เพิ่มมากขึ้น ทำให้สีผิวเข้มขึ้นได้
    2. สภาวะตั้งครรภ์ เป็นการสภาวะเปลี่ยนแปลงการหลั่งฮอร์โมนเพศหญิงจากรังไข่มากกว่าปกติ ความผิดปกตินี้จะทำให้เกิดฮอร์โมน MSH ไปกระตุ้นให้ผิวผลิตเม็ดสีผิวเพิ่มมากขึ้น ทำให้คนท้องเกิดฝ้าได้ง่าย
    3. การใช้เครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของน้ำหอม เพราะน้ำหอมที่อยู่ในเครื่องสำอางหรือสกินแคร์ที่ตกค้างบนผิวหนังชั้นล่าง มักทำปฏิกิริยากับแสงแดดและทำให้เม็ดสีผิวสะสมที่ผิวชั้นล่าง และเกิดฝ้าฝังลึกได้

วิธีการรักษาฝ้า

    1. รักษาด้วยการเปลี่ยนเซลล์ผิว เป็นการผลัดเปลี่ยนเซลล์ผิวหนังชั้นกำพร้าให้หลุดลอกออก เพื่อให้ฝ้าจางลง
    2. รักษาด้วยครีม ส่วนผสมในครีมประเภท Whitening ที่มีคุณสมบัติยับยั้งเอนไซม์สร้างเม็ดสีผิว เช่น
      – สารสกัดจากรากชะเอมเทศ
      – สารสกัดมะขามป้อม
      – สารสกัดทับทิม
      – วิตามินซี
    3. รักษาด้วยเลเซอร์ ND Yag 532 สามารถรักษาฝ้าระดับตื้นได้ สำหรับคนที่รักษาด้วยครีมไม่เห็นผล
    4. รักษาด้วย IPL ควรทำควบควบคู่ไปกับการทาครีม เพื่อป้องกันการสร้างเม็ดสีผิวขึ้นมาใหม่ หรือทำร่วมกับการผลัดเซลล์ผิว เพื่อให้เม็ดสีผิวจางลงเร็วยิ่งขึ้น *ควรใช้ครีมกันแดดร่วมไปกับการรักษาฝ้าเสมอ เพื่อป้องกันการเกิดฝ้าซ้ำ

สิวอักเสบ

สิวอักเสบ วิธีการป้องกันและรักษาสิวสิวอักเสบ

วิธีการป้องกันและรักษาสิวอักเสบ

สิวอักเสบ (Inflammatory Acne) แบ่งออก 3 ชนิด

    • สิวหัวแดง (Red papules) คือสิวที่เกิดอาการอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย C. acnes และแบคทีเรียชนิดแกรมบวก (Gram-positive bacteria)
    • สิวหัวหนอง (Pustules) คือสิวที่เกิดการอักเสบจาดเชื้อแบคทีเรียชนิดแกรมลบ (Gram-negative bacteria) ซึ่งมีการอักเสบที่รุนแรงกว่า หรืออาจเกิดจากเชื้อ Staphylococcus aureus ซึ่งเป็นแบคทีเรียชนิดแกรมบวก
    • สิวหัวช้าง (Cystic acne) คือสิวที่มีลักษณะเป็นซีสต์ (Cyst) หรือถุงน้ำ การเกิดสิวหัวช้างคล้ายกับการเกิดสิวหัวขาวแต่อักเสบกว่าและลุกลาม เป็นเม็ดนิ่มขนาดใหญ่และมีหนอง

วิธีการป้องกันและรักษาสิวสิวอักเสบ

    1. การใช้ยา ซึ่งต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์ผิวหนัง และต้องรับประทานยาให้ครบปริมาณตามคำสั่งของแพทย์เพื่อป้องกันการดื้อยา
      – ยาในกล่มต้านเชื้อแบคทีเรีย (Anti-biotic)
      – ยากลุ่มวิตามินเอสังเคราะห์ (Retinoid) เพื่อลดการอุดตันของรูขุมขน
    2. ใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสม BHA (Salicylic Acid) , PHA (Glucยากลุ่มวิตามินเอสังเคราะห์ (Retinoid) เพื่อลดการอุดตันของรูขุมขนonolactone) , LHA (Capryoyl Salicylic Acid) ช่วยผลัดเซลล์ผิวที่ตายแล้วให้หลุดออก และสารกลูแคน (Glucan) หรือแอลลันโดอิน (Allantoin) ช่วยให้สมานแผลให้หายเร็วขึ้น
    3. หลีกเลี่ยงการใช้ยาบางชนิด เช่น ยากลุ่มสเตียรอยด์ ซึ่งมีผลต่อการเปลี่ยนสภาพผิวหน้าให้เหมาะต่อการเจริญเติบโตของยีสต์ ซึ่งเป็นตัวการให้เกิดอักเสบบริเวณรูขุมขน
    4. หมั่นดูแลความสะอาดผิวหน้าเป็นประจำ โดยล้างหน้าวันละ 2-4 ครั้ง ตามสภาพผิวด้วยเจลล้างหน้าที่อ่อนโยน ทำความสะอาดผิวได้ดี ไม่ก่อให้เกิดการระคายเคือง และไม่ควรถูหรือนวดหน้าแรงๆ เพราะจะเป็นการกระตุ้นให้ต่อมไขมันแตกและเกิดการอักเสบได้

หลุมสิว

หลุมสิว วิธีการรักษาหลุมสิว

หลุมสิว

หลุมสิว?

หลุมสิว คือรอยแผลเป็นจากสิวชนิดหลุม เป็นกระบวนการรักษาตัวเองอย่างหนึ่ง เกิดจากการอักเสบของสิว ที่มีเชื้อแบคทีเรียและหนองอยู่ภายใน การอักเสบของผิวทำให้เกิดการหลั่งเอนไซม์ย่อยสลาย คอลลาเจนที่ผิวและเนื้อเยื่อรอบข้าง ทำให้ผิวบริเวณที่เกิดการอักเสบยุบตัวลงไป และร่างกายมีการสร้างพังผืดดึงรั้ง ทำให้เกิดหลุมสิว

วิธีการรักษาหลุมสิว

    1. การผลัดเซลล์ผิว (Peeling) เป็นการกระตุ้นให้เซลล์ผิวสร้างคอลลาเจนใหม่ ช่วยให้ผิวหน้าเรียบเนียนขึ้น ควรทำเดือนละ 1 ครั้ง
    2. การกรอหน้า การกรอหน้าหรือการกรอผิว จะช่วยผลัดเซลล์ผิวชั้นขี้ไคลออกได้ลึกกว่าการผลัดเซลล์ผิวธรรมดา สามารถทำร่วมกันได้ โดยการกรอหน้าสลับกับการผลัดเซลล์ผิว ทุกๆ 2 สัปดาห์ จะกระตุ้นการส้รางเส้นใยคอลลาเจนใหม่ เพื่อให้ผิวชั้นบนเรียบเนียนขึ้น
    3. การทาครีม การทาครีมที่มีส่วนผสมอนุพันธ์วิตามินเอก่อนนอนเพื่อลดรอยแผลเป็น หากรู้สึกแสบหรือระคายเคือง ให้ทาสลับกับเวชสำอางที่มีส่วนผสมของวิตามินซีในตอนเช้า ข้อดีของการทาครีมที่มีอนุพันธ์วิตามินเอคือสามารถซึมลงสู่ผิวชั้นล่างได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถใช้แทนการรักษาแบบไอออนโต (Iontophoresis)
    4. การทำเมโส (Mesotheraphy) การใช้เทคนิคเมโสฉีดสารอาหารเข้าใต้หลุมสิวทุกหลุม เพื่อให้เซลล์นำสารอาหารไปสร้างเส้นใยคอลลาเจนของตนเอง เพื่อให้หลุมสิวตื้นขึ้น และวิธีนี้ยังสามารถช่วยให้ผิวหน้าใสอีกด้วย
    5. การเลเซอร์ การเลเซอร์แบบคิว-เรย์ (Q-ray Laser) เป็นการฉายแสงเป็นจุดๆ และเปลี่ยนจากคลื่นแสงเป็นพลังงานความร้อนไปกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนขึ้นมาใหม่ ทำให้รอยหลุมตื้นขึ้นและช่วยรักษาริ้วรอยได้อีกด้วย

การรักษาขึ้นอยู่กับรักษาแผลของแต่ละบุคคล บางรายอาจต้องใช้หลายวิธีร่วมกันเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดี

เซลลูไลท์

เซลลูไลท์

เซลลูไลท์ (Cellulite)

เซลลูไลท์ หรือผิวเปลือกส้ม คือไขมันที่สะสมอยู่ใต้ผิวหนัง ส่งผลให้เลือดไหลเวียนไม่ดี จนทำให้ผิวบริเวณดังกล่าวเป็นตะปุ่มตะป่ำ คล้ายเปลือกส้ม โดยมีสาเหตุและปัจจัยมาจากกรรมพันธุ์ ฮอร์โมน การรับประทานอาหารที่มีไขมันและน้ำตาลสูง เช่น ของทอด ขนมหวาน เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การขาดการออกกำลังกาย ความเครียด เป็นต้น ซึ่งระดับความรุนแรงของผิวเปลือกส้มแบ่งเป็น 4 ระดับ ได้แก่

    • ระดับที่ 1 เกิดรอยนูนตะปุ่มตะป่ำ เมื่อจับผิวยกขึ้น
    • ระดับที่ 2 มองเห็นรอยนูนตะปุ่มตะป่ำ เมื่อให้เกร็งกล้ามเนื้อต้นขา
    • ระดับที่ 3 มองเห็นรอยนูนตะปุ่มตะป่ำ แม้ไม่เกร็งกล้ามเนื้อ
    • ระดับที่ 4 มีเยื่อหุ้มเซลล์ไขมัน คลำได้เป็นก้อนนูนแข็ง

การรักษาและป้องกันการเกิดเซลลูไลท์

    1. รักษาโดยการใช้คลื่นความถี่ RF (Radio Frequency) เป็นการใช้เครื่องมือที่ใช้คลื่นไฟฟ้าปล่อยผ่านผิวเข้าไปสู่ชั้นไขมัน ทำให้อุณหภูมิในชั้นไขมันสูงขึ้น ส่งผลให้เส้นใยคอลลาเจนเกิดการหดกระชับตัว และทำให้ระบบไหลเวียนเลือดและน้ำเหลืองทำงานได้ดีขึ้น จึงเพิ่มการขับของเสียออกทางน้ำเหลือง
    2. ทาครีมที่ช่วยลดเซลลูไลท์ โดยครีมจะช่วยให้ระบบไหลเวียนโลหิตทำงานได้ดีขึ้น ช่วยละลาย ไขมันทำให้ผิวเรียบเนียน
    3. ลดน้ำหนักและควบคุมอาหาร โดยการเลือกรับประทานที่มีไขมันต่ำ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันและน้ำตาลสูง เพื่อลดการสะสมไขมันในร่างกาย
    4. ออกกำลังกายเป็นประจำ ช่วยให้ผิวเปลือกส้มแลดูกระชับขึ้น พร้อมเสริมสร้างความแข็งแรง ของกล้ามเนื้อ
    5. ดูดไขมัน (Liposuction) เป็นวิธีที่เห็นผลเร็วแต่ผลข้างเคียงค่อนข้างมาก ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

ริ้วรอยชนิดตื้น

ริ้วรอยชนิดตื้น

ริ้วรอยชนิดตื้น

ริ้วรอยชนิดตื้น

มีสาเหตุเกิดจากเส้นใยคอลลาเจน (Collagen) และเส้นใยอีลาสติน (Elastin) เสื่อมสภาพ เนื่องจากเซลล์ผิวผลิตได้น้อยลง จึงเกิดการหย่อนคล้อยของผิวหน้า และเกิดเป็นริ้วรอย

วิธีการแก้ไขริ้วรอยชนิดตื้นนั้น ควรเลือกใช้เวชสำอางที่มีส่วนผสมของสารกระตุ้นการสร้างเส้น ใยคอลลาเจนเจน (Collagen) และเส้นใยอีลาสติน (Elastin) โดยสารที่ใช้แล้วเห็นผลดังนี้

    1. กลุ่มวิตามินซี เช่น กรดเอธิลอีเธอร์แอสคอบิก (Ethyl ether ascorbic acid) กรดแอสโคบิก (Ascorbic acid) ซึ่งสามารถลดอนุมูลอิสระได้ถึง 55% ลดการผลิตเม็ดสีเมลานิน ซึ่งช่วยให้ผิวกระจ่างใสขึ้น พร้อมทั้งช่วยเสริมสร้างเส้นใยคอลลาเจนเจนและเส้นใยอีลาสติน
    2. สารสกัดจากเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่งจากทะเลแอนตาร์กติก ซึ่งมีคุณสมบัติ ช่วยเสริมสร้างเส้นใยคอลลาเจนและอิลาสติน พร้อมคงความชุ่มชื้นให้ผิวไม่แห้งกร้าน
    3. กรดต่างๆ เช่น AHA, BHA, กรดไฟติก (Phytic Acid) หรือกรดดอกไม้ (Flower Acid) เป็นต้น ซึ่งช่วยผลัดเซลล์ผิวที่เสื่อมสภาพ เผยผิวใหม่ที่แข็งแรง กลุ่มเปปไทด์ (Peptide) ต่างๆ ที่ช่วยเสริมสร้างเส้นใยคอลลาเจนและอิลาสตินในชั้นผิว ช่วยให้ผิวแลดูอ่อนเยาว์
    4. กลูแคน (Glucan) ช่วยเสริมสร้างเซลล์ระบบภูมิคุ้มกันของผิวหนัง (Langerhans cell) ที่เสื่อมสลายไปจากอายุที่เพิ่มขึ้น หรือโดนแสงแดดทำลาย

หรือเวชสำอางที่มีส่วนผสมสารสกัดจากธรรมชาติ เช่น

    1. โรสแมรี่ (Rosemary) มีสารต้านอนุมูลอิสระ มีฤทธิ์คล้ายกับวิตามินอี ช่วยต้านการทำลาย ใยคอลลาเจน
    2. สารสกัดจากเมล็ดองุ่น เป็นสารกลุ่มฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระดีกว่าวิตามินซีและอี มีฤทธิ์ลดการอักเสบ ซึ่งเป็นสารเรสเวอราทรอล (resveratrol) ในไวน์องุ่นแดง

ผลัดเซลล์ผิว

ผลัดเซลล์ผิว

ผลัดเซลล์ผิว

ผลัดเซลล์ผิว?

ผิวหนังจะมีการ”ผลัดเซลล์ผิว”หรือ Skin Cycle ทุกๆประมาณ 28 วัน โดยเซลล์เก่าหรือเซลล์ผิว ที่เสื่อมสภาพจะถูกผลัดออก และเซลล์ผิวใหม่ที่เกิดขึ้นใต้ชั้นผิวลึก จะค่อยๆดันตัวขึ้นมาจนถึงผิวชั้นนอกสุด แทนที่เซลล์ผิวเก่าที่ถูกผลัดออก

โดยผิวชั้นหนังกำพร้าจะมีอายุประมาณ 14 วัน หลังจากนั้นจะหลุดออกไปในรูปแบบของขี้ไคล และผิวจะใช้เวลาอีก 14 วัน ในการสร้างเซลล์ผิวใหม่ขึ้นมาทดแทนเซลล์ที่หลุดไป ฉะนั้นการผลัดเซลล์ผิวจึงใช้เวลาทั้งหมด 28 วัน

การผลัดเซลล์ผิวโดยการทำทรีทเมนท์เป็นการกระตุ้นผิวให้เกิดการผลัดเซลล์ผิวที่เร็วขึ้น จึงเผยผิวใหม่แข็งแรง และช่วยลดปัญหาสิว รอยสิว หลุมสิว ผิวหมองคล้ำ ฝ้า กระและจุดด่างดำต่างๆ

การผลัดผิวเซลล์ ชนิด Chemical Peel

การผลัดผิวเซลล์โดยใช้สารเคมีเพื่อกระตุ้นให้ผิวเกิดการผลัดเซลล์ผิวที่เร็วขึ้ยโดยแพทย์ผิวหนัง แบ่งออกเป็น 3 ระดับ

    1. ลอกผิวชั้นนอกสุด (Superficial Peel) สูตรเฉพาะของธาดาคลินิก Blue Peel เป็นการผลัดเซลล์ผิวด้วยสารเคมีชนิดอ่อน เหมาะสำหรับกลุ่มวัยรุ่น เนื่องจากมีผิวค่อนข้างบาง ใช้สำหรับรักษาสิวหรือรอยแผลเป็นจากสิว และยังใช้ในการรักษาฝ้าที่เป็นไม่มากนัก หลังทำอาจมีการลอกเป็นขุยแต่บางรายอาจไม่มีการลอกเลย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพผิวและสามารถทำได้ทุก 2 สัปดาห์ Yellow Peel เป็นการผลัดเซลล์ผิวด้วยสารเคมีระดับกลาง ช่วยเปิดรูขุมขน รักษาสิว รอยดำจาก สิวฝ้า ในระยะเริ่มต้น เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาเรื่องริ้วรอยไม่มากนัก สามารถทำได้ทุก 2 สัปดาห์และ เห็นผลภายใน 1 – 3 เดือน
    2. ลอกผิวลึกระดับปานกลาง (Medium Peel) TCA (Trichloroacetic Acid) Peel เป็นการผลัดเซลล์ผิวด้วยสารเคมีระดับลึก มีความเข้มข้น หลายระดับ ขึ้นอยู่กับการรักษาและสภาพผิวซึ่งแพทย์เป็นผู้วินิจฉัย ใช้ในการรักษาฝ้า สิว และ ปรับสภาพผิวให้ผิวสว่างขึ้น กระตุ้นการสร้างคอลลาเจน ช่วยให้ผิวเรียบเนียนและแต่งตึง สามารถ ทำกับผิวส่วนอื่นนอกเหนือจากบริเวณใบหน้าได้ เช่น รักษาสิวและรอยแผลเป็นที่เกิดจากสิวบริเวณหลัง ภายหลังการทำจะมีการลอกของเซลล์ผิวที่ตายแล้ว สามารถทำได้ทุก 4 สัปดาห์
    3. ลอกระดับลึก (Deep Peel) มักนิยมใช้สารฟีนอล (Phenol) แต่ความเข้มข้นสูง ซึ่งพบปัญหาแทรกซ้อนพบมาก เช่น หน้าดำ มีแผลบริเวณใบหน้า คล้ายแผลน้ำร้อนลวก การเลือกใช้สารในการผลัดเซลล์ผิวขึ้นอยู่กับสภาพผิวหน้า ปัญหาผิวเป็นสิ่งสำคัญโดยแพทย์จะจะเป็นผู้พิจารณาเพื่อให้ผิวหน้าคนไข้เกิดผลข้างเคียงน้อยที่สุด และได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด

ผิวแห้ง

ผิวแห้ง วิธีสังเกตและทดสอบผิวแห้ง

ผิวแห้ง

ผิวแห้ง?

ผิวแห้งเป็นผิวที่ขาดความชุ่มชื้น เนื่องจากน้ำหรือความชุ่มชื้นในผิวหนังชั้นหนังกำพร้าลดลง

อาจมีปัจจัยที่ทำให้เกิดผิวแห้ง ได้แก่ เพศ อายุ โรคผิวหนัง พันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมภายนอก เช่น

การอาบน้ำร้อน อากาศที่แห้งและเย็น เป็นต้น ซึ่งหากเกิดผิวแห้งมากอาจก่อให้เกิดการอาการแสบคัน และการอักเสบของผิวเนื่องจากการเกาได้

วิธีสังเกตและทดสอบผิวแห้ง

การทดสอบผิวแห้งนั้นเราสามารถทดสอบเองได้โดยลองใช้นิ้วชี้ลูบไล้บริเวณส่วนใดส่วนหนึ่งของ ร่างกาย โดยวิธีดูความหนืดของผิว ซึ่งผิวแห้ง จะมีความหนืดสูงเมื่อลูบไล้บนผิวแล้วมีรอยสะเก็ดสีขาว เมื่อสังเกต จะมองเห็นร่องของผิวชัดเจน อาจมีอาการแดงลอกเป็นขุย แตกลาย โดยมักพบบริเวณ แขน ขา และมือ

    • สารเคลือบผิว (Emollient) เป็นน้ำมันต่างๆ จุดประสงค์เพื่อกักน้ำไม่ให้ระเหยออกจากผิว หรือเพื่อคงความชุ่มชื้นให้ผิวไม่แห้งกร้าน
    • สารเพิ่มความชุ่มชื้น มีหลายชนิดเช่น กรดโพลีกลูตามิก (polyglutamic) ยูเรีย (Urea) กลีเซอรีน (Glycerine) โซเดียมพีซีเอ (Sodium PCA) กรดไฮยารูโลนิก (Hyaluronic Acid)

โดยทั่วไปผิวจะมีน้ำมีนวลจากธรรมชาติสูงสุดเมื่อมีอายุ 18 ปี ซึ่งสารน้ำนวลธรรมชาติประกอบด้วย สารยูเรีย (Urea) กรดน้ำนม (Lactic Acid) โซเดียมพีซีเอ (Sodium PCA) กลุ่มกรดอะมิโน เช่น สารอาร์จินิน (Arginine) อัลลานิน (Alanine) ฯลฯ และมีกลุ่มสารควบคุมความเป็นกรดของผิว (Acid mantle) ให้มี pH 5 เมื่ออายุมากขึ้น สารน้ำนวลธรรมชาติเริ่มลดน้อยลง น้ำมันที่ใบหน้ามีค่าความเป็นกรดด่าง pH 6 จึงเป็นต้องหาสารทดแทน โดยเฉพาะโซเดียมพีซีเอ (Sodium PCA) กรดไฮยารูโลนิก (Hyaluronic Acid) กรดน้ำนม (Lactic Acid) เพื่อควบคุมความเป็นกรดที่สมดุล

ฉะนั้นควรใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารน้ำนวลธรรมชาติสำหรับผิวหน้าที่มีค่าความเป็นกรด pH 4 เพื่อปรับ pH เป็น 5 ซึ่งเท่ากับ pH ของผิวปกติ และต้องมีส่วนผสมของสารปกป้องผิวสำหรับผิวหน้า และกาย ซึ่งประกอบด้วย สารกรดไขมัน เซราไมด์ 3 (Ceramide 3) และไขมัน เช่น กลุ่มฟอสโฟไลปิดส์ (Phospholipids) คอลเลสเตอรอล (Cholesterol) ซึ่งมักเสื่อมสลายโดยเฉพาะคนที่เป็นโรคภูมิแพ้

ผลักวิตามินผิว

ผลักวิตามินผิว

Optimum Nutriment (ผลักวิตามินผิว)

ผลักวิตามินผิว?

ทรีทเมนท์ที่ผลักอาหารผิวสูตร”ผลักวิตามินผิว”เฉพาะของธาดาคลินิกให้ซึมลงลึกลงสู่ใต้ผิวโดยไม่ต้องใช้เข็ม

โดยอาศัยคลื่นกระแสไฟฟ้าผลักวิตามินให้ซึมลงสู่ใต้ผิวอย่างล้ำลึก ทำให้ผิวกระจ่างใส เนียนนุ่ม ชุ่มชื้น

รอยด่างดำจางลง รูขุมขนเล็กลง สามารถกระตุ้นให้ผิวสร้างคอลลาเจนได้เพิ่มขึ้น

ระยะเวลาที่ใช้ในการทำทรีทเมนท์

20 – 30 นาที/ครั้ง

ความรู้สึกขณะทำทรีทเมนท์

อาจรู้สึกยิบๆ เบาๆ บริเวณใบหน้า เนื่องจากกระแสไฟฟ้าจากเครื่องกำลังกระตุ้นผิวให้สามารถดูดซึมสารอาหารลงไป

ผลที่ได้รับหลังจากการทำ

    • ผิวกระจ่างใส เนียนนุ่มหลังจากการทำทรีทเม้นท์ทันที
    • รูขุนขนแลดูกระชับ
    • ผิวแลดูอ่อนเยาว์

กี่ครั้งเห็นผล?

เห็นผลตั้งแต่ครั้งแรกที่ทำ แต่ควรทำต่อเนื่อง 3 – 5 ครั้ง ทุก 1 – 2 สัปดาห์ เพื่อผิวที่กระจ่างใสสุขภาพดี

IPL

IPL คืออะไร

IPL (Intense Pulsed Light)

IPL คืออะไร?

IPL หรือ Intense Pulsed Light คือเทคนิคในการใช้พลังงานแสงที่มีความเข้มข้นสูง ใช้ในการรักษาและแก้ไขปัญหาผิวพรรณ โดยกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนและอีลาสตินใต้ผิวหนัง สามารถรักษารอยแดง รอยดำจากเม็ดสีส่วนเกิน ที่เกิดจากแสงแดด ช่วยฟื้นฟูสภาพผิว และลดเลือนริ้วรอย

IPL รักษาอะไรได้บ้าง?

    • IPL ใช้รักษากระตื้นและรอยดำโดยการทำลายเม็ดสีผิดปกติให้หลุดลอกออก
    • ลดเลือนริ้วรอยโดยกระตุ้นให้ผิวสร้างคอลลาเจนใหม่ขึ้นมา ทำให้ริ้วรอยเล็กๆ ดูจางลง
    • รอยแดง เส้นเลือดแดงฝอยเล็กๆ
    • กำจัดเส้นขนที่ขึ้นตามบริเวณต่าง ๆ ของร่างกาย

ข้อควรปฏิบัติตัวก่อนการรับการรักษา

    • ควรหลีกเลี่ยงการโดนแดดจัด เช่น อาบแดดหรือไปเที่ยวทะเลก่อนทำการรักษาประมาณ 1-2 สัปดาห์

ผู้ที่ควรหลีกเลี่ยงการทำ IPL

    • ผู้ที่แพ้แสง และผู้ที่ตั้งครรภ์

ระยะเวลาที่ใช้ทำการรักษ

    • ประมาณ 15-30 นาที ขึ้นอยู่กับบริเวณที่ทำการรักษา

ต้องรับการรักษากี่ครั้งจะเห็นผล?

    • โดยทั่วไปจะเห็นผลตั้งแต่ครั้งแรกหรือครั้งที่ 2 แต่ควรต่อเนื่อง 4 – 6 ครั้ง โดยรับการรักษาเดือนละ 1 ครั้ง

ผลข้างเคียงจากการรักษาด้วย IPL

    • ขณะทำอาจรู้สึกร้อนวูบที่ผิวบ้าง
    • อาจมีรอยแดงซึ่งจะหายไปเองในเวลา 5 – 30 นาที
    • ในกรณีรักษากระตื้นอาจจะเกิดสะเก็ดหลังทำ แต่สะเก็ดจะหลุดประมาณ 3 – 7 วัน

คำแนะนำหลังจากทำการรักษา

    • หลังทำการรักษาด้วย IPL ควรหลีกเลี่ยงแสงแดดจัดประมาณ 1-2 สัปดาห์และต้องทาครีมกันแดดเป็นประจำ
เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล