นายแพทย์ธาดา เปี่ยมพงศ์สานต์
THADA PIAMPONGSANT, M.D.
American Board Dermatologist & Dermatopathologist
อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนังและตจพยาธิวิทยาจากสหรัฐอเมริกา
- นายกสมาคมเวชสำอางและศัลยศาสตร์ผิวพรรณ
- อาจารย์ที่ปรึกษา ภาควิชาวิทยาศาสตร์เครื่องสำอางมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
- อาจารย์สอนเทคนิคตจศาสตร์ความงาม เวชสำอาง และการรักษาโรคผิวหนังให้กับแพทย์ทั้งในไทยและต่างประเทศ
- ที่ปรึกษาองค์การอนามัยโลก (WHO) เรื่องไข้ดำ
- ประธานชมรม Mesotherapy แห่งประเทศไทย
นพ.ธาดา เปิดสอนเทคนิคการรักษาโรคผิวหนังเวชสําอางและ Mesotherapy ให้กับแพทย์ชาวไทย และต่างประเทศที่สนใจ โดยผ่านทางสมาคมเวชสําอาง และศัลยศาสตร์ผิวพรรณและมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ทั้งยังได้รับเชิญเป็นวิทยากร ในการบรรยายความรู้ด้านโรคผิวหนัง และความงามในหลายประเทศ เช่น อียิปต์ สหรัฐอเมริกา ละตินอเมริกา รวมถึงอีกหลายประเทศในภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
นพ.ธาดา เป็นผู้ก่อตั้งสถาบันความรู้ Asian Esthetic Dermatology (AED) เกี่ยวกับเวชศาสตร์ผิวพรรณ เป็นผู้อำนวยการหลักสูตรและเป็นอาจารย์สอนวิชาเวชศาสตร์ผิวพรรณ ณ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงที่กรุงเทพฯ เน้นด้านการดูแลรักษาสิว ฝ้า ตลอดจนเทคนิคการทำเลเซอร์ต่างๆ การฉีดฟิลเลอร์ โบทูลินั่ม ท็อกซิน และทำการวิจัยสูตรรักษาสิว ฝ้า ครีมกันแดด สูตรชะลอริ้วรอย รวมทั้งการผลัดเซลล์ผิว
ผลงานตีพิมพ์
- ผลงานการวิจัยตีพิมพ์เรื่องสิว ฝ้า โรคผิวหนัง และสารหนูระดับนานาชาติในวารสารทั้งในและต่างประเทศกว่า 100 เรื่อ
- งานวิจัยกว่า 40 เรื่อง ตีพิมพ์ในวารสารที่ Index Medicus รับรอง (สถาบันรับรองมาตรฐานวารสารระดับโลก) เช่น British Journal of Dermatology, International Journal of Dermatology
- ตำราโรคผิวหนัง
- ตำราอิมมูนวิทยาโรคผิวหนัง
- ตำราแพทย์ด้านผิวหนัง Practical Dermatology ฉบับภาษาอังกฤษ เพื่อเป็นคู่มือสําหรับแพทย์ผิวหนังทั่วโลก
- ตำราตจศาสตร์ความงาม (สำหรับแพทย์) 2559
- หนังสือ “ผิวพรรณองค์รวม” Holistic Skin Care Therapy เพื่อถ่ายทอดความรู้ด้านการดูแลผิวด้วยเวชศาสตร์ผิวพรรณ
ผลงานวิจัยอื่น ๆ ที่สำคัญ
2520 ค้นพบวิธีการรักษาโรค Pityriasis Lichenoides หรือ โรคที่มีตุ่มแดงขึ้นตามตัว
2530-2534 ค้นพบโรคเรื้อนซาอุ (Leishmaniasis) ที่ระบาดในไทย
2531 ค้นพบสาเหตุและวิธีการรักษาโรคไข้ดํา
2545 ค้นพบวิธีรักษาโรคผิวหนังแข็งทั้งตัว
2558 ค้นพบวิธีรักษาโรคผิวหนังอื่นๆ เช่น โรคขาดสังกะสี, Seborrheic Dermatitis